การจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เป็นทีม หมวดวิชาศึกษาทั่วไปสำหรับนิสิตปริญญาตรี

Main Article Content

ศศิธร นาม่วงอ่อน
ทิพรัตน์ สิทธิวงศ์
ประหยัด จิระวรพงศ์

บทคัดย่อ

หมวดวิชาศึกษาทั่วไปเป็นรายวิชาที่มีการจัดการเรียนการสอนเป็นห้องเรียนขนาดใหญ่ มีจำนวนนักศึกษามาก มีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นการบรรยาย ขาดการส่งเสริมกระบวนการคิดการทำงานร่วมกัน เป็นต้น จึงส่งผลให้การเรียนการสอนในรายวิชานี้ไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควรเพื่อให้การเรียนการสอนมีประสิทธิภาพผู้สอนควรปรับวิธีการและกิจกรรมในการเรียนการสอนให้มีความหลากหลายและแตกต่างจากการเรียนการสอนแบบเดิม อาทิเช่น การเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านการเรียนรู้แบบทีม เป็นต้น

จากการศึกษาค้นคว้าพบว่าวิธีการที่สนับสนุนการเรียนการสอนหมวดวิชาศึกษาทั่วไปควรจะมีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เป็นทีม ซึ่งเป็นกระบวนการเรียนการสอนที่ให้ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเองจากที่บ้านหรือนอกห้องเรียน แล้วนำมาอภิปราย แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันในห้องเรียน โดยมีผู้สอนเป็นผู้ชี้แนะ และให้คำปรึกษา โดยเน้นกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นการทำงานเป็นทีม เพื่อให้นิสิตมีส่วนร่วมกันในทีม และมีความร่วมมือ ช่วยเหลือการทำงาน ซึ่งมีขั้นตอนดังนี้ 1. ผู้สอนชี้แจงสาระการเรียนรู้และแนวทางในการศึกษาค้นคว้า 2. ผู้เรียนศึกษาค้นคว้าด้วยตนเอง 3. ผู้สอนให้ผู้เรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 10 คน 4. ผู้สอนสนทนากับผู้เรียนเกี่ยวกับเนื้อหาผู้เรียนศึกษาค้นคว้าถาม-ตอบข้อสงสัยต่างๆ เพื่อแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกัน 5. ผู้เรียนอภิปรายหรือทำกิจกรรมการเรียนรู้ต่างๆ ร่วมกันซึ่งเป็นการทำงานเป็นทีม โดยมีผู้สอนเป็นผู้ให้คำปรึกษา 6. ผู้เรียนสรุปความคิดรวบยอดหรือทำงานที่ได้รับมอบหมายร่วมกันเป็นทีม ดังนั้นจึงควรจัดการเรียนการสอนในรูปแบบการจัดการเรียนการสอนแบบห้องเรียนกลับด้านร่วมกับการเรียนรู้เป็นทีมเพื่อช่วยตอบสนองการเรียนรู้แบบกลุ่มใหญ่

 

The Flipped Classroom and Team Based Learning on General Education for Undergraduate Students

General education courses are taught to a large number of students in a large classroom. Additionally, the teaching method used is lecturing. As a result, the teaching process has not been as successful as hoped. To help generate effective teaching and learning activities, Flipped Classroom and Team-Based Learning can be adopted and made use in activities. It has been found that Flipped Classroom can support general education courses as schoolwork is finished at home and homework is done at school. In addition, Team-Based learning affords collaborative effort to achieve a common goal within the groups as well as to help promote and develop students’ responsibility. To encourage ability to work as a team, there are six steps to perform, as follows – 1. The instructor explains the subject and teaching approaches in the course. 2. Students conduct independent study. 3. Divide into groups of not more than 10 people. 4. The instructor discusses the content with the students. 5. The students do activities together which promote teamwork. The instructor acts as a coach. 6. Students summarize concepts and content.

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Articles)