การพัฒนาทักษะการวิจัย ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ การวิจัยเป็นฐานในวิชาฟิสิกส์ ตามความสามารถพื้นฐาน ทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา

Main Article Content

รุจิราพร รามศิริ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เปรียบเทียบทักษะการวิจัยหลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัย เป็นฐานในวิชาฟิสิกส์ ตามความสามารถพื้นฐานทางการเรียนของนักเรียนระดับมัธยมศึกษา 2) ศึกษาพัฒนาการและความคงทนด้านทักษะการวิจัย 3) ศึกษาความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัย เป็นฐานในวิชาฟิสิกส์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5/2 จำนวน 35 คน ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนสาธิตแห่งมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ วิทยาเขตกำแพงแสน ศูนย์วิจัยและพัฒนาการศึกษา ได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยได้แก่ หน่วยและแผนการจัดการเรียนรู้แบบประเมินทักษะการวิจัย และแบบสอบถามความคิดเห็นที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การวิจัยเป็นฐาน วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าความแปรปรวนทางเดียว ค่าทีแบบไม่อิสระ และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1) หลังการจัดการเรียนรู้โดยใช้การวิจัยเป็นฐานในวิชาฟิสิกส์ นักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานทางการเรียนต่างกัน มีทักษะการวิจัยแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .05 2) นักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานทางการเรียนต่างกัน มีพัฒนาการด้านทักษะการวิจัยสูงขึ้นในระยะระหว่างเรียนถึงระยะหลังเรียน จากระดับปานกลางถึงระดับมาก และนักเรียนทุกกลุ่มมีความคงทนด้านทักษะ การวิจัยในระยะติดตามผล และ3) หลังการจัดการเรียนรู้ นักเรียนทุกกลุ่มมีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้การวิจัยเป็นฐานในวิชาฟิสิกส์ในภาพรวม และทุกด้านอยู่ในระดับเห็นด้วยมาก

 

The Development of Research Skills through Research-Based Learning Management in Physics depend on Basic Learning Abilities of Secondary School Students

The purposes of this research were to: 1) compare research skills after leaning by using research-based learning management in Physics depend on basic learning abilities of secondary school students, 2) study development and retention of research skills, and 3) study opinion toward research-based learning management in Physics. The samples comprised 35 eleventh grade students during the second semester of the academic year 2015 at Kasetsart university laboratory school Kamphaeng Saen Campus Educational Research and Development Center. Research instruments consisted of the units and lesson plans, research skills assessment forms, and questionnaire. The data was analyzed by mean, standard deviation, one-way ANOVA, dependent sample t-test and content analysis.

The results found that: 1) after using the research-based learning management in Physics the students who had different basic learning abilities had research skills different at .05 significance level, 2) The students who had different basic learning abilities had development of research skills from a moderate level to a high level and every group of students had retention of research skills at the follow-up phase, and 3) after learning management every group of students had opinion toward research-based learning management in Physics at the high level.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)