การพัฒนาสื่อประสมนิทานอาเซียนโดยจัดประสบการณ์ แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วมเพื่อเสริมสร้างทักษะการสื่อสาร ของเด็กปฐมวัย

Main Article Content

ณัฐิกา สุริยาวงษ์
ชนสิทธิ์ สิทธิ์สูงเนิน

บทคัดย่อ

การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1. ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการของการพัฒนาสื่อประสม นิทานอาเซียนโดยจัดประสบการณ์แบบผู้ปกครองมีส่วนร่วม 2. พัฒนาสื่อประสมให้มีประสิทธิภาพ 85/85 3. ทดลองใช้สื่อประสม 4. ประเมินประสิทธิผล ดังนี้ 4.1) พัฒนาความรู้อาเซียนให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป 4.2) พัฒนาทักษะการสื่อสารให้ผ่านเกณฑ์ร้อยละ 80 ขึ้นไป 4.3) ประเมินความพึงพอใจของผู้ปกครอง และเด็กปฐมวัย กลุ่มตัวอย่าง คือเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 2 จำนวน 11 คน โรงเรียนวัดสระสี่เหลี่ยม และ ผู้ปกครองของเด็กปฐมวัย 11 คน เครื่องมือที่ใช้ 1) แผนการจัดประสบการณ์ 2) สื่อประสม 3) แบบทดสอบ 4) แบบประเมินทักษะการสื่อสาร 5) แบบสัมภาษณ์ความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลด้วย ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่า t-test แบบ One sample t-test และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัยพบว่า 1. ข้อมูลพื้นฐานและความต้องการมีดังนี้ 1.1 สื่อประสมประกอบด้วย วิดีโอนิทาน อาเซียน สมุดภาพนิทานอาเซียน หุ่นมืออาเซียน 1.2 นิทานอาเซียนเกี่ยวกับสถานที่ ชุดประจำชาติ ธงชาติ และคำทักทาย 1.3 การมีส่วนร่วมของผู้ปกครอง ได้แก่ ร่วมคิดและตัดสินใจ ร่วมจัดประสบการณ์ ร่วมประเมินผล ร่วมรับผลประโยชน์ 1.4 ทักษะการสื่อสาร ได้แก่ การอธิบายคำศัพท์ การสร้างประโยค การสนทนาโต้ตอบ 2. แผนและสื่อมีประสิทธิภาพ 86.64/93.79 3. การทดลองใช้แผนและสื่อ 25 แผน 4. การประเมินประสิทธิผล 4.1) ความรู้เรื่องอาเซียนสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 4.2) ทักษะการสื่อสารสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 4.3) ความพึงพอใจของผู้ปกครอง และเด็กปฐมวัย พึงพอใจทุกด้าน

 

Development of Multimedia ASEAN Stories by Parental Participation Methods to Enhance Communication Skills of Early Childhood Students

The purpose of this research were to 1) Study the fundamental data and need assessment for development of the Multimedia ASEAN Stories by Parental Participation Methods. 2) Develop the Multimedia to standard criterion of 85/85. 3) Experiment the Multimedia. 4) Evaluate including 4.1) develop the ASEAN knowledge pass not less than 80 percent. 4.2) develop the communication skills pass not less than 80 percent. 4.3) assess the satisfaction of the parents and the early childhood. The sample consisted of 11 children of kindergarten 2, studying in Wat Sa Si Liam school and their 11 parents The instruments applied in this research comprised 1) plan for experience management 2) Multimedia 3) tests 4) communication skills assessment 5) the satisfaction interviews. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, t-test one sample and content analysis.

The research finding revealed: 1. The fundamental data and need assessment were as follow 1.1 The multimedia including videos about ASEAN stories, ASEAN stories infographics, hand puppets. 1.2 ASEAN stories including place, national costume, flags, greeting. 1.3 Parental Participation including participation in decision-making, participation in experience management, participation in assessment, participation in Advantage Gain. 1.4 Communication skills including words description, sentences building, conversation. 2. Lesson plan and multimedia were efficient; (E1/E2) is at 86.64/93.79. 3.Trying out 25 lesson plans and multimedia 4. The result of validation 4.1) the result of the ASEAN knowledge tests was higher than the limit and was statistically significant at .05. 4.2) the result of communication was higher than the limit was statistically significant at .05 and was at a good level. 4.3) the satisfaction of the parents and early childhood were in high level of all sides.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)