ผู้สูงอายุกับเหตุผลในการเรียนรู้ วิธีการเรียนรู้ และสิ่งที่ต้องการเรียนรู้

Main Article Content

สุธีรา บัวทอง
สุทธิพงศ์ สภาพอัตถ์
ศิริณา จิตต์จรัส

บทคัดย่อ

ปัจจุบันประชากรโลกมีอัตราผู้สูงอายุเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจัดเป็นกลุ่มประชากรที่มีอิทธิพล ต่อการเปลี่ยนแปลงทางด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรม การศึกษาเกี่ยวกับผู้สูงอายุในศตวรรษ ที่ 21 จึงถือเป็นวาระสำคัญที่ควรดำเนินการศึกษาเพื่อส่งเสริมการสร้างความรู้ความเข้าใจถึงสภาพและ ความต้องการของผู้สูงอายุในสังคมโลก เนื่องจากกระบวนการทางการศึกษาตลอดชีวิตเป็นกุญแจสำคัญ ในการสร้างศักยภาพของผู้สูงอายุให้มีสุขภาพกายและใจที่ดี สามารถดำรงชีวิตได้ด้วยตนเองโดยไม่ต้องพึ่งพาการช่วยเหลือจากผู้อื่น และดำเนินกิจกรรมการเรียนรู้ภายใต้สภาพแวดล้อมที่ปลอดภัย สามารถประกอบอาชีพและมีส่วนร่วมในกิจกรรมของครอบครัวหรือชุมชน ซึ่งมีความแตกต่างไปจากทัศนคติในด้านลบของสังคมในอดีตที่กล่าวว่าผู้สูงอายุขาดความแข็งแรงและเป็นภาระต่อสังคมจึงเป็นสิ่งที่ควรได้รับการปรับเปลี่ยน

การศึกษาองค์ประกอบของกระบวนการด้านความรู้มี 2 ด้าน ดังนี้ 1. Crystallized Intelligences (5 องค์ประกอบ) และ Fluid Iintelligences (4 องค์ประกอบ) รวมทั้งสิ้น 9 องค์ประกอบ ผลการศึกษาพบว่า มนุษย์มีการเสื่อมถอยหรือคงอยู่แตกต่างกันตามอายุขัยและปัจจัยภายนอก ดังนั้นนักการศึกษาจึงควรมี องค์ความรู้และเหตุผลว่าผู้สูงอายุยังคงมีความต้องการด้านการเรียนรู้เช่น สมรรถภาพทางกาย การรับรู้ การจำ การตอบสนองความสามารถด้านการรับสัมผัสผ่านประสาทสัมผัส ทัศนคติ การปรับตัวขวัญ และกำลังใจ ตลอดจนปัจจัยที่มีผลต่อการเรียนรู้ของผู้สูงอายุ เพื่อส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพชีวิตและจิตใจ ของผู้สูงอายุอันจะนำไปสู่การพัฒนาชุมชน และสังคมในอนาคต

 

Ageing Related to Reason Method and Needs of Learning

Current world ageing population have been increasing continually that mean they are influential citizen in overall social changes such as economic, political and socio-cultural aspects. Gerontology in twenty-first century was held to be significant agenda that should contemplate for allowing knowledge and understanding about elderly social surrounding in global contexts because lifelong learning process is the key success factor in ageing capability formulation. The potential ageing population could be lived without assistance by themselves. Furthermore, they can devise learning activities under safe environment and they must have an appropriate working life including community development participation

All these issues are different form negative antecedent attitude of social paradigm shift that said venerable people are feeble and social encumbrance must be transformed rapidly. Learning process elements was duplex as following 1) crystallized intelligences (5components) and fluid intelligences (4 components) total 9 components. Cogitative study results shown that human has differently deterioration and persistence according to life age and external factors. Therefore, all educators ought to have both knowledge and reasonability about aging learning passion such as physical fitness, perception, memorability, attitude, motivation and elderly learning manipulation. It would be utilizable for strengthen life and mental quality of elderly people that would accomplish social development in the future.

Article Details

บท
บทความวิชาการ (Articles)