ผลของการสอนโดยใชรู้ปแบบการสอนมโนทัศน์เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพครูตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงที่มีต่อจริยธรรมในวิชาชีพครูของนักศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

กมล โพธิเย็น

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อเปรียบเทียบความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรมจริยธรรมในวิชาชีพครู ของนักศึกษาคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ก่อนและหลังจากการใช้รูปแบบการสอน มโนทัศน์เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพครูตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง 2) ศึกษาระดับของความ พึงพอใจของนักศึกษาที่ได้รับการใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพครูตาม แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง (Experimental research) โดยกำหนดรูปแบบการทดลองแบบหนึ่งกลุ่มทดสอบก่อนและหลังการทดลอง (One-Group Pretest-Posttest Design) กลุ่มตัวอย่างคือ นักศึกษาชั้นปีที่ 2 คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์ แบบวัดคุณธรรมจริยธรรม ในวิชีพครูตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง และแบบสอบถามความพึงพอใจ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (\inline \dpi{80} \bar{X}) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (t-test)

ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้ 1) ผลการทดลองการใช้รูปแบบการสอนมโนทัศน์เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพครูตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง พบว่า นักศึกษามีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพครูตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียงสูงขึ้นกว่าก่อนการทดลอง อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .01 (\inline \dpi{80} \bar{X} = 31.37, S.D. = 1.866, \inline \dpi{80} \bar{X} = 12.60, S.D. = 1.329) ตามลำดับ 2) นักศึกษามีระดับความ พึงพอใจในการเรียนด้วยรูปแบบการสอนมโนทัศน์เพื่อพัฒนาคุณธรรม จริยธรรมในวิชาชีพครูตามแนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง โดยภาพรวมในระดับมากที่สุด (\inline \dpi{80} \bar{X} = 4.53, S.D. = 1.329) ตามลำดับ

 

The Effects of Using Model of Concept Learning for Development Ethics by Sufficiency Economy for Ethics in Professional Teacher of the Student in Facucty of Education, Silpakorn University

This research aimed to : 1) Compare the knowledge of Ethics for Professional Teacher before and after using the model in Concept Learning for development of ethics by sufficiency economyfor professional teacher. 2) level of the student teacher’ satisfaction toward the instructional model. This research is Experimental research by One-Group Pretest-Posttest Design. The participants were 30 student teachers in the second year in Faculty of Education at Silpakorn University. The research instruments were and a satisfaction questionnaire. The obtained data were analyzed by mean, percentage, standard deviation, dependent t-test.

The research results were as follows : 1) The results of the model in Concept Learning for development of ethics by sufficiency economy implementation revealed that the knowledge of ethics for Professional Teacher before and after using the model in Concept Learning for development of ethics by sufficiency economy was significantly different at the level of .01 2) The student teachers’ satisfaction toward the instructional model was at the highest level.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)