ประเมินผลและถอดบทเรียนโครงการพัฒนาครู โดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง

Main Article Content

นรินทร์ สังข์รักษา
เฉลียว บุรีภักดี
สุมาลี พงศ์ติยะไพบูลย์

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) ประเมินบริบท ปัจจัยนำเข้า กระบวนการดำเนินงาน ผลผลิต ของโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง ของสำนักงานเขตพื้นที่มัธยมศึกษา เขต 10 2) ถอดบทเรียนผลการฝึกอบรมของโครงการพัฒนาครูโดยใช้กระบวนการสร้างระบบพี่เลี้ยง เป็นการวิจัยเชิงประเมินและถอดบทเรียน ประชากร ได้แก่ ครู ผู้บริหารสถานศึกษาและศึกษานิเทศก์ จำนวน 114 คน รวมทั้งสิ้น 114 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกกับผู้ให้ข้อมูลหลัก คือ วิทยากรพี้เลี้ยง จำนวน 2 คน คณะกรรมการบริหารโครงการ 2 คน และสัมภาษณ์กลุ่ม 4 คน รวมทั้งหมด 8 คนใช้วิธีการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือเป็นแบบสอบถาม แนวทางการสัมภาษณ์เชิงลึก การสังเกต การจดบันทึกใบขุมความรู้สถิติที่ใช้ ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา รวมถึงการถอดบทเรียนตามหลักการของ AAR

ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลการประเมินโครงการพัฒนาครูโดยใชก้ ระบวนการสรา้ งระบบพี่เลี้ยง Coaching and Mentoring ในภาพรวมสำหรับคณะกรรมการบริหารโครงการโดยภาพรวมมีคะแนนอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเปน็ รายด้าน พบว่า ด้านบริบท มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือ ด้านปัจจัยนำเข้าด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต มีค่าเฉลี่ยน้อยที่สุด ตามลำดับ ผู้เข้ารับการอบรม โดยภาพรวมมีคะแนนอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ทุกด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับ พบว่า ด้านปัจจัยนำเข้า มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมา คือด้านบริบท ด้านกระบวนการ และด้านผลผลิต ตามลำดับ 2) ผลการถอดบทเรียน ภาพรวมของโครงการที่ต้องพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่ต้องการเน้นกระบวนการคิด ผลที่เกิดขึ้นในปัจจัยที่นำไปสู่ ความสำเร็จเป็นไปในทิศทางที่ดี ทั้งองค์ความรู้ วิทยาการ การจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ รวมถึงการวิจัย การเป็นพี่เลี้ยงในการ Coaching มีความแตกต่างกันจากงานเดิมของศึกษานิเทศก์ที่มีมหาวิทยาลัยศิลปากรและมหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรีมาช่วยเหลือในการติดตามเป็นพี่เลี้ยง การปฏิบัติที่เป็นเลิศมีจุดเด่น 1) มีทีม ที่เข้มแข็งทางวิชาการ 2) การประชุมเตรียมความพร้อมของทีม และสพม. เขต 10 3) การสร้าง นวัตกรรม ในการจัดความรู้เกี่ยวกับแผนการจัดการเรียนรู้ และการวิจัย 4) การได้ใจครูที่ครูมีความตั้งใจ 5) การวางแผน ดำเนินการเป็นทีม การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในกระบวนการบริหาร การพูดคุย และการเรียนรู้ร่วมกัน นั่นคือ “การทำงานเป็นทีม” ความทุ่มเทของวิทยากร ความพร้อมของครูและผู้บริหาร รวมถึงศึกษานิเทศก์

 

Coaching and Mentoring Evaluation and Drawing a Lesson Learnt from One Program of Teacher Development through Processing of Coaching and Mentoring System

This research was aimed to 1) evaluate on context, input factors, process and output of one program of teacher development through processing of coaching and mentoring system and this was implemented in Secondary Educational Service Area No.10 2) draw a lesson learnt from it. The population group studied was accounted to 114 persons and this was classified to one group (114 persons) of teachers, school administers, supervisors.The key informant persons namely the two mentors and the two managers were purposively selected to in-depth interview. Furthermore the two groups (4 persons/one each group) were invited to joint in the two sessions of group interviewing. The research instruments employed here were structural questionnaire, guideline for in-depth interview and guideline for observation and note taking. The quantitative data was analyzed and presented in frequency, percentage, mean and standard deviation. The qualitative data was analyzed by using of the technique of content analysis. And the lesson learnt was draw from this study through the principle of AAR

From the results they were presented as follows: The program was totally evaluated from the program manager team at the highest level. When considering in its more details of each dimension, the context had its highest mean score and the lower mean scores were the input factor, the process and the output respectively. For the trainees the program and each of its dimensions were scored at high level. The input factor had the highest mean score and the lower were the context, the process and the output respectively. From the lesson learnt, the development of achievement in learning was focused to the process of thinking. The results happened in the factors leading to the success as body of knowledge, planning of knowledge management and research were being on their good direction. To be the mentor of coaching it was different from the former performance of supervisors received the guidance from Silpakorn University and Phetchaburi Rajabhat University. To achieve the excellent practices it was on 1) strengthening of academic team 2) meeting for preparation of this team readiness and the participants of Secondary Educational Service Area No.10 3) building up innovation of knowledge management on planning and research 4) possess of teachers who had their attention in teaching 5) planning and implementing as one united team work. The important changes happening from the processes of management, talking and learning together found here were “working together as one united team work”, dedication of facilitators, readiness of teachers, school administers and supervisors.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)