การพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมนักศึกษาวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดประสบการณ์สร้างเสริมการตระหนักรู้ในตนเอง สำหรับเด็กปฐมวัย

Main Article Content

พิจิตรา ทีสุกะ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาหลักสูตรฝึกอบรมนักศึกษาวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาความสามารถในการจัดประสบการณ์สร้างเสริมการตระหนักรู้ในตนเอง สำหรับเด็กปฐมวัย การวิจัยจำแนกเป็น 4 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การศึกษาความต้องการจำเป็น โดยเก็บรวบรวมข้อมูลจากเอกสารและงานวิจัยที่เกี่ยวข้อง และการตรวจสอบยืนยันโดยผู้เชี่ยวชาญ ระยะที่ 2 การออกแบบและพัฒนาหลักสูตร การนิยามมโนทัศน์สำคัญ กิจกรรมการฝึกอบรม และเครื่องมือประเมินที่ใช้ในการฝึกอบรม การศึกษานำร่องเพื่อปรับปรุงหลักสูตรให้เหมาะสมและมีความเป็นไปได้ก่อนนำหลักสูตรฝึกอบรมไปใช้ ระยะที่ 3 การทดลองใช้หลักสูตรฝึกอบรมด้วยแบบแผนการวิจัยเชิงทดลองขั้นพื้นฐาน (pre-experimental research) กลุ่มตัวอย่างประกอบด้วย กลุ่มแรกเป็นนักศึกษาวิชาชีพครู จำนวน 40 คน เป็นนักศึกษาวิชาชีพครูสาขาวิชาเอกการศึกษาปฐมวัย ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2555 โดยใช้รูปแบบการทดลองแบบกลุ่มเดียวสอบก่อน-หลัง (one-group pretest-posttest design) ส่วนกลุ่มที่สองเป็นเด็กปฐมวัย อายุระหว่าง 3-4 ปี เป็นเด็กในศูนย์พัฒนาเด็กที่นักศึกษาวิชาชีพครูปฏิบัติงานอยู่ รูปแบบการศึกษาพัฒนาการทดลองกลุ่มเดียว (the one-group time-series design research) ระยะที่ 4 การประเมินหลักสูตร โดยวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณด้วยค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที (t-test) แบบ dependent และการวิเคราะห์เนื้อหา เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แบบทดสอบความรู้แบบประเมินความสามารถการเขียนแผนและจัดประสบการณ์ และแบบสอบถามความคิดเห็นนักศึกษาวิชาชีพครูที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรม และแบบประเมินการตระหนักรู้ในตนเองของเด็กปฐมวัย

ผลการวิจัยพบว่า

1. นักศึกษาวิชาชีพครูมีบทบาทสำคัญในการจัดประสบการณ์เพื่อพัฒนาการตระหนักรู้ในตนเอง

2. หลักสูตรฝึกอบรมประกอบด้วย หลักการและเหตุผล วัตถุประสงค์ของหลักสูตรฝึกอบรม เนื้อหาสาระและประสบการณ์การเรียนรู้ กิจกรรมการเรียนการสอน สื่อการเรียนรู้ การประเมินการเรียนรู้ และประเมินผลหลักสูตร

3. ความรู้ของนักศึกษาวิชาชีพครูหลังได้รับการฝึกอบรมมีคะแนนเฉลี่ยสูงกว่าก่อนเข้ารับการฝึกอบรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01

4. ความสามารถในการเขียนการจัดประสบการณ์ที่สร้างเสริมการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครูอยู่ในระดับมาก

5. พัฒนาการการจัดประสบการณ์ที่สร้างเสริมการตระหนักรู้ในตนเองของนักศึกษาวิชาชีพครูอยู่ในระดับมาก

6. ความคิดเห็นของนักศึกษาวิชาชีพครู ที่มีต่อหลักสูตรฝึกอบรมนักศึกษาวิชาชีพครูเพื่อพัฒนาการจัดประสบการณ์ที่สร้างเสริมการตระหนักรู้ในตนเองสำหรับเด็กปฐมวัย อยู่ในระดับมาก

 

Development of Training Course for Students Teacher to Develop the Ability to Enhance the Experiences of Self Awareness for Kindergarten Children

This research aims to develop training course for students teacher to develop the ability that enhance the experiences of self awareness for kindergarten children. The study was divided into four phases. Phase 1 included a study and analysis on relevant needs. Data were gathered from documents and related research which were checked for appropriateness and consistency by experts. Phase 2 comprised curriculum design and development to define the concept, activities, and curriculum assessment tools. A pilot study was conducted to improve appropriateness and possibilities before implementation of the curriculum. Phase 3 was a trial course in a form of pre-experimental research, using two groups of samples : The first group consisted of 40 education students majoring in Early Childhood Education in the second semester of 2012, using the one-group pretest-posttest design research format; the second group comprised 160 kindergarten children aged between 3–4 years old studying at Child Development Center, where the education students worked, using the one-group time-series design research format. Phase 4 was an assessment process by analyzing quantitative data using percentage, mean, standard deviation, dependent t-test, and qualitative content analysis. The research tools used in this study included 1. assessment tools, i.e., assessment of knowledge, evaluation of lesson plan writing, evaluation of experience provision, and questionnaires for opinions of education students towards the curriculum, and 2. assessment tools for kindergarten children development.

The results of the study were as follows :

1. Education students played an important role in supervising and monitoring the results from the training courses.

2. Training materials in the training course included principles and rationales, curriculum objectives, contents and learning experiences, teaching and learning activities, learning media, and evaluations and assessments of learning.

3. The results of the training curriculum showed that the knowledge of the students teacher gained after the training of a statistical significance level of .01.

4. There is a significantly high level of writing on experiences that enhance self awareness of teacher profession students.

5. The study shows a high level of arranging experiences that enhance self awareness of teacher profession students.

6. The opinions reviewed by teacher profession students toward the training course for teacher profession students to develop the arrangement of experiences that enhance self awareness for elementary children are at a high level.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)