กระบวนการเรียนรู้ด้วยประวัติศาสตร์บอกเล่าของกลุ่มเด็กมะเกลือพิทักษ์รักษ์ถิ่น

Main Article Content

ศิริณา จิตต์จรัส
จรัญญา วงษ์พรหม
ธนวรรณ สินประเสริฐ
พรรณภัทร ปลั่งศรีเจิญสุข

บทคัดย่อ

การจัดกระบวนการเรียนรู้ให้กับเด็กและเยาวชนในเรื่องราวที่เกี่ยวข้องกับรากเหง้าของชุมชน ผ่านวิธีการประวัติศาสตร์บอกเล่า (Oral History) เป็นหนทางหนึ่งที่จะสร้างให้เด็กได้มีพื้นฐานที่ดีในการเรียนรู้ เพื่อเป็นเกราะป้องกันให้เด็กและเยาวชนห่างไกลจากสิ่งไม่ดี ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ รวมทั้งเสริมสร้างจิตอาสาที่จะเป็นพลังการพัฒนาความเข้มแข็งของชุมชนท้องถิ่นในอนาคต

กิจกรรมการเรียนรู้จึงถูกสร้างขึ้นอย่างหลากหลาย อาทิ กิจกรรม “นักวิจัยน้อยเรียงร้อยภูมิปัญญา” กิจกรรม “ท้องถิ่น ผู้เฒ่าเล่าขาน ลูกหลานเรียนรู้ เชิดชูบ้านวัดมะเกลือ” กิจกรรมเด็กพาเดินเพลิดเพลินเรียนรู้สิ่งดีๆ ที่มีอยู่ในหมู่บ้าน กิจกรรมการเรียนรู้นอกหมู่บ้าน และการจัดทำแผนกิจกรรม ได้ดำเนินการขึ้นโดยการมีส่วนร่วมระหว่างคณะนักวิจัยและคณะทำงานชุมชน เพื่อให้เด็กในพื้นที่หมู่บ้านวัดมะเกลือได้เกิดการเรียนรู้ซึ่งสามารถปรับเปลี่ยนความคิด ทัศนคติและพฤติกรรมของเด็กและเยาวชนได้ในระดับหนึ่ง เช่น กล้าแสดงออกกล้าพูด ตั้งคำถามเป็น รู้จักวิธีการสังเกต เกิดความภาคภูมิใจในตัวเองและหมู่บ้าน รวมทั้งกระตุ้นให้เกิดการมีส่วนร่วมคิด ร่วมทำกิจกรรมเพื่อส่วนรวมในชุมชนท้องถิ่นต่อเนื่องจากที่วางแผนไว้ นอกจากนี้ กระบวนการดำเนินโครงการดังกล่าวยังสามารถสร้างการเรียนรู้ในการทำงานร่วมกันระหว่าง คณะผู้วิจัย คณะทำงานชุมชน เด็กและผู้ปกครอง และเทศบาลตำบลคลองโยงด้วย

 

Learning Process with Oral History of Ma Gloe Pitak Raktin Children Group (Children Group Adored and Protected of Ma Gloe Community)

To set up a learning process management to children and young adults about their community’s root through oral history is one significant way to create good foundation of learning for them. This method can also keep them away from involving in practising harmful activities and spend their spare time usefully which will increase their public voluntary mind and eventually increase the community’s strength in the future.

Based on these aims, the learning process activities have been created as various as possible, for instance; “Young researchers invented on local wisdom”; “The Elderly has presented and transfered their wisdom knowledge, while the youngers have learnt in order to glorify Wat Ma Gloe Community”; “Joyfully walking around the community led by children to learn significant knowledge”; and Learning something outside community”. The activities action plan has been made in participartory manner between the research team and the community’s working group so that the Wat Ma Gloe Community’s children can improve their learning ability. The activities could modify in some extent towards their conception, point of view and behavior. They are brave to speak and express their idea. They know how to set up questions and make an observation. They are proud of themselves and their own community. These activities have also motivated them to participate in making action plan to develop their community after the original plan ended. In addition, the project’s operation has also been created learning process on how to work harmoniously between research team, the community’s working group, children and their parents as well as the Klong Yoang District Municipality.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)