ภาวะผู้นำด้านการสอนของผู้บริหารโรงเรียน พฤติกรรมการบริหาร ทักษะด้านวิชาการของครูและสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่มีผลต่อคุณภาพของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 2

Main Article Content

นิกูล ประทีปพิชัย
ศันสนีย์ จะสุวรรณ์

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาระดับภาวะผู้นำและอิทธิพลของภาวะผู้นำด้านการสอนของผู้บริหารโรงเรียน พฤติกรรมการบริหาร ทักษะด้านวิชาการของครู และสภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่มีผลต่อคุณภาพของโรงเรียนในเขตพื้นที่การศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ผู้วิจัยใช้การวิจัยแบบผสมผสานระหว่างการวิจัยเชิงปริมาณ และการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่างการวิจัยเชิงปริมาณใช้แบบสอบถามครูชั้นประถมศึกษาปีที่1 - 6 จำนวน 598 คน โดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรม สำเร็จรูปในการหาค่าสถิติพื้นฐาน และโปรแกรม LISREL ในการสร้างและตรวจสอบแบบจำลองสมการโครงสร้าง การวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เจาะลึกผู้บริหารโรงเรียนดีเด่น และครูวิชาการโรงเรียนซึ่งเป็นผู้มีความรู้ ความสามารถด้านการจัดการเรียนการสอน ในโรงเรียน ขนาดเล็ก ขนาดกลางและขนาดใหญ่ โรงเรียนละ 3 คน รวมขนาดโรงเรียนละ 6 คน รวมทั้งสิ้น จำนวน 18 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้การวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า ภาวะผู้นำด้านการสอนของผู้บริหารโรงเรียน ที่ประกอบด้วย การพัฒนาหลักสูตรการนิเทศภายในโรงเรียน การส่งเสริมพัฒนาการสอนของครู อยู่ในระดับปานกลาง และสมรรถนะในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน อยู่ในระดับมาก พฤติกรรมการบริหารของผู้บริหาร ที่ประกอบด้วย ด้านการติดต่อสื่อสาร แรงจูงใจผู้อื่น และวิสัยทัศน์ พบว่า อยู่ในระดับมาก ทักษะด้านวิชาการของครู ที่ประกอบด้วย การใช้เทคโนโลยีสารสนเทศ การวัดและประเมินผลและพฤติกรรมการสอน พบว่า การวัดและประเมินผลและพฤติกรรมการสอน อยู่ในระดับมาก ส่วนการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของครู อยู่ในระดับปานกลาง สภาพแวดล้อมในโรงเรียนที่ประกอบด้วย การมีส่วนร่วมในการปฏิบัติงานของครู บรรยากาศโรงเรียน และบรรยากาศในชั้นเรียน พบว่า อยู่ในระดับมาก คุณภาพของโรงเรียนที่ประกอบด้วย ประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน ความพึงพอใจในการปฏิบัติงานของครู และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียน พบว่า ประสิทธิผลในการบริหารงานวิชาการของผู้บริหารโรงเรียน และความพึงพอใจในการปฏิบัติของครู อยู่ในระดับมาก ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน พบว่า ส่วนใหญ่มีคะแนนเฉลี่ยต่ำกว่าคะแนนเฉลี่ยระดับชาติเกือบทุกกลุ่มสาระวิชา แบบจำลองสมการโครงสร้าง มีค่าดัชนีความกลมกลืนอยู่ในเกณฑ์มาตรฐานที่ดีและสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยพิจารณาจาก ค่า Chi- Square = 136.08, df = 82, GFI = 0.95 , AGFI = 0.92, RMR = 0.016, RMSEA = 0.046 และ CFI = 0.99 นอกจากนี้ ยังพบว่า พฤติกรรมการบริหาร ส่งผลทางตรงต่อคุณภาพของโรงเรียนมากที่สุด รองลงมาคือสภาพแวดล้อมในโรงเรียน และภาวะผู้นำด้านการสอนของผู้บริหารโรงเรียน ส่วนภาวะผู้นำด้านการสอนของผู้บริหารโรงเรียน มีความสัมพันธ์ในทิศทางที่ตรงกันข้ามกับทักษะด้านวิชาการของครู แต่ส่งผลในเชิงบวกต่อคุณภาพของโรงเรียนและสภาพแวดล้อมในโรงเรียน

 

School Principals’ Instructional Leadership Administrative Behavior, Teachers’ Academic Skill And Academic Environment Affecting The Quality of School in Phetchaburi Educational Area 2

The purposes of this research were to study levels and instructional leadership influences of the school administrators as well as their management behaviors. Moreover, the teachers’ academic skills and the school environment affecting the quality of schools in Phetchaburi Educational Area 2 were also investigated. Both qualitative and quantitative analysis were employed in this study. The quantitative samples were randomized by employing stratified random sampling strategy. The questionnaire was employed togather the data from 598 Grade 1- 6 primary school teachers. The collected data were analyzed using the Statistical Package for the Social Sciences (SPSS) in finding basic statistics and LISREL Program in creating and examining a structural equation model. On the other hand, for qualitative data collecting, the total of 18 in - depth interviews were conducted together information from 3 excellent school administrators and 3 academic teachers, who are knowledgeable and competent instructors, in three school sizes : large, medium and small. There were 6 simples from each school size. The data were analyzed by content analysis.

The results were as follows: for the school administrators’ instructional leadership aspects the finding showed that the academic management capacity was at the high level while the curriculum development, the internal class observation and the teachers’ development in teaching support were at the average level. Regarding the management behavior aspects, the results revealed that their communication skills, motivating other people and visions were at the high level. Concerning the teachers’ academic skills involving the teaching behaviors, the information technology usage, the assessment and evaluation, the results showed that their teaching behaviors and assessment and evaluation behaviors were at the high level while information and technology usage of the teachers were at the average level. For the school environment comprising of the school and classroom atmosphere, the finding were at the high level. Regarding the school quality involving learning achievement, teachers’ working satisfaction, and the effectiveness of school administration management, the results revealed that the students’ learning achievements of 5 subject area were at the high level and the achievements of 3 subject area were at low level. The teachers’ working satisfaction and the effectiveness of school administration management were at the high level. The structural equation models of the indicators were at the good level and were consistent with the empirical data. The fitted model provided the chi-square = 136.08, df = 82, GFI = 0.95, AGFI = 0.92, RMR = 0.016, RMSEA = 0.046 และ CFI = 0.99. Furthermore, the results indicated that the most directly affected by the administrators’ instructional leadership was the school quality, followed by teachers’ academic skills. Concerning the management behaviors and school environment, these factors indirectly affected educational quality of school.

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)