การพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33

Main Article Content

suwichaya khongsook

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


              การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1)  เพื่อพัฒนากิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3  ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 75/75 (2)  เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ก่อนการเรียนและหลังการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา (3)  เพื่อศึกษาพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนกาบเชิงวิทยา สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33 ซึ่งกำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 41 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling)  เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย (1) กิจกรรมสะเต็มศึกษาจำนวน 5 กิจกรรม (2) แผนการจัดกิจกรรมสะเต็มศึกษาจำนวน 5 แผน (3) แบบทดสอบความสามารถในการแก้ปัญหาจำนวน 40 ข้อ และ (4) แบบประเมินพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test)


            ผลการวิจัย  พบว่า


  1. กิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 83.10/76.16

  2. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 หลังการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษา สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

          3.  พฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จากการจัดการเรียนรู้โดยใช้กิจกรรมสะเต็มศึกษาเพื่อส่งเสริมทักษะการแก้ปัญหาและพฤติกรรมใฝ่เรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับดี

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กนกทิพย์ ยาทองไชย. (2559). การพัฒนาชุดกิจกรรมสะเต็มศึกษาเรื่องปิโตรเลียมและพลังงานทดแทน เพื่อส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณและการแก้ปัญหา ระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาเคมี บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กนกวรรณ ปัจจวงษ์. (2559). ปัจจัยที่มีความสัมพันธ์กับความใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาขอนแก่น เขต 2. ปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาวิจัยและประเมินผลการศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2552). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์ชุมนุมสหกรณ์การเกษตรแห่งประเทศไทย จำกัด.
ดวงพร สมจันทร์ตา. (2559). การพัฒนาความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาตอนปลายที่ได้รับการเรียนตามแนวทางสะเต็มศึกษา เรื่อง กายวิภาคศาสตร์ของพืช. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาชีววิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
บุญเกื้อ ควรหาเวช. (2542). นวัตกรรมการศึกษา. พิมพ์ครั้งที่ 5. นนทบุรี : SR Printing.
บุญเลี้ยง ทุมทอง. (2559, มกราคม-มิถุนายน). “สะเต็มศึกษาบทบาทการสอนครูที่สะท้อนการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21 ของไทย.” วารสารครุศาสตร์เมืองช้าง. 1 (1) : 1-12.
พรทิพย์ ศิริภัทราชัย. (2556, เมษายน-มิถุนายน). “STEM Education กับการพัฒนาทักษะในศตวรรษที่ 21.” วารสารนักบริหาร. 33 (2) : 49-56.
มนตรี จุฬาวัฒนทล. (2556). “การศึกษาวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี วิศวกรรมศาสตร์และคณิตศาสตร์หรือสะเต็มศึกษา”. สมาคมครูวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์และเทคโนโลยี. 41 (182) : 15-16.
สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี. (2555ก). การวัดและประเมินผลคณิตศาสตร์. กรุงเทพมหานคร : ซีเอ็ดยูเคชั่น.
________. (2555ข). ทักษะและกระบวนการทางคณิตศาสตร์. พิมพ์ครั้งที่ 3. กรุงเทพมหานคร : 3-คิวมีเดีย.
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษาเขต 33. (2559). รายงานผลสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2558. สุรินทร์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33.
________. (2560). รายงานผลสอบทางการศึกษาระดับชาติ (O-NET) ปีการศึกษา 2559. สุรินทร์ : สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 33.
สุคนธ์ สินธพานนท์. (2558). การจัดการเรียนรู้ของครูยุคใหม่เพื่อพัฒนาทักษะของผู้เรียนในศตวรรษที่ 21. พิมพ์ครั้งที่ 1. กรุงเทพมหานคร : ห้างหุ้นส่วนจำกัด 9119 เทคนิคพริ้นติ้ง.
สุพรรณี ชาญประเสริฐ. (2557, มกราคม-กุมภาพันธ์). “สะเต็มศึกษากับการจัดการเรียนรู้ในศตวรรษที่ 21” นิตยสาร สสวท. 42 (186) : 3-5.
อาภรณ์ ใจเที่ยง. (2550). หลักการสอน (ฉบับปรับปรุง). พิมพ์ครั้งที่ 4. กรุงเทพมหานคร : โอเดียนสโตร์.
อารีย์ พันธ์มณี. (2545, ตุลาคม). “จากการสอนสู่การจุดประกายความใฝ่รู้” วารสารวิชาการ. 26 (1) : 2.
อาทิตย์ ฉิมกุล. (2559). ผลของการจัดการเรียนรู้ชีววิทยาตามแนวคิดสะเต็มศึกษาที่มีต่อความสามารถในการแก้ปัญหาและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนชีววิทยาของนักเรียนระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย. ปริญญาครุศ่าสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการศึกษาวิทยาศาสตร์ ภาควิชาหลักสูตรและการสอน คณะครุศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มมหาวิทยาลัย.
อาทิตยา พูนเรือง. (2559). การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและความสามารถในการแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์เรื่อง เอนไซม์ โดยใช้การจัดการเรียนรู้ตามแนวทางสะเต็มศึกษา. ปริญญานิพนธ์การศึกษามหาบัณฑิต สาขาชีววิทยา บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.
Robert, A. (2013). STEM is here. Now what? Technology and Engineering Teacher. September. 22-27.
Scott, C. (2012). “An Investigation of Science, Technology, Engineering and Mathematics (STEM) Focused High School in the U.S.” Journal of STEM Education. 13(5) : 30-39.
Vasquez, J.A., Sneider, C., and Comer, M. (2013). STEM Lesson Essentials: Integrating Science, Technology, Engineering, and Mathematics. Portsmouth, NH : Heinemann.