การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียนบทร้อยกรอง ชุดปราสาทปรางค์กู่

Main Article Content

แสงดาว โพธิ์ทอง

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ


   การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ (1) เพื่อพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียนบทร้อยกรอง ชุดปราสาทปรางค์กู่ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 (2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ก่อนการเรียนและภายหลังเรียนรู้ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านบทร้อยกรอง ชุดปราสาทปรางค์กู่ (3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียนบทร้อยกรอง ชุดปราสาทปรางค์กู่ กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านดู่ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาการประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 39 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย (1) หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียนบทร้อยกรอง ชุดปราสาทปรางค์กู่หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียนบทร้อยกรอง  ชุดปราสาทปรางค์กู่ (2) แผนการจัดการเรียนรู้ (3) แบบประเมินวัดความสามารถด้านการอ่านทำนองเสนาะ (4) แบบทดสอบวัดความสามารถด้านการอ่านจับใจความสำคัญ (5) แบบประเมินความสามารถด้านการเขียนบทร้อยกรองกาพย์ยานี 11                      (6) แบบสอบถามความพึงพอใจ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย   ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test)


              ผลการวิจัย  พบว่า


  1. หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียนบทร้อยกรอง ชุดปราสาทปรางค์กู่ มีประสิทธิภาพเท่ากับ 83.64/88.21 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด

  2. ความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภายหลังเรียนรู้ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียนบทร้อยกรอง ชุดปราสาทปรางค์กู่ หลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนรู้อย่าง มีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

  3. ความพึงพอใจของนักเรียน ที่มีต่อการเรียนรู้โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านและการเขียนบทร้อยกรอง ชุดปราสาทปรางค์กู่ อยู่ในระดับมากที่สุด (gif.latex?\fn_jvn&space;\bar{x} =4.54).

 

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

กรมวิชาการ. (2545). คู่มือการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย. กรุงเทพฯ : องค์การรับส่งสินค้าและพัสดุภัณฑ์. 2545.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2551). หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
กิ่งกาญจน์ วงศ์ฉลาด. (2556). การพัฒนาทักษะการอ่านเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องคำควบกล้ำโดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านประกอบแบบฝึกทักษะของ
นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2.วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
กาญจนา สุริยะวิทยะ (2553). การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน เรื่อง ประเพณีท้องถิ่นสกลนคร เพื่อฝึกทักษะการอ่านและการเขียนภาษาไทยชั้นประถมศึกษาปีที่ 2.
วิทยานิพนธ์ปริญญาครุศาสตร์มหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสกลนคร.
จินตนา ใบกาซูยี. (2542). เทคนิคการเขียนหนังสือสำหรับเด็ก. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์คุรุสภาลาดพร้าว.
จินตนา ศิริกล้า. (2556). การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านบทร้อยกรอง กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยเรื่องเที่ยววนอุทยานพนมสวาย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 3. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ชรินทร์ เนืองศรี. (2551). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการเรียนร้อยกรอง กาพย์ยานี11 กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่1
วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
ตวงรัตน์ สาขะจันทร์. (2553). การพัฒนาความสามารถในการอ่านจับใจความภาษาไทย โดยใช้ หนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุดคุณธรรมพื้นฐาน 8 ประการ สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
ธนากร พรมลิ. (2557). ประเพณีบุญเบิกฟ้าชุมชนชาวกูยบ้านกู่ ศรีสะเกษ : อบต.กู่ (แผ่นพับ)
นฤมล สุขศรีแก้ว. (2551). การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านวรรณคดีไทย เรื่อง ขุนช้างขุนแผน ตอนกำเนิดพลายงาม สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
โรงเรียนเทศบาล1.วิทยานิพนธ์ศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต. พิษณุโลก : มหาวิทยาลัยนเรศวร.
ประภาวดี แก่นจันทร์หอม. (2550). การพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านจับใจความสำคัญภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 วิทยานิพนธ์ปริญญามหาบัณฑิต
มหาวิยาลัยราชภัฎเชียงใหม่.
พิสณุ ฟองศรี. (2553). การสร้างและพัฒนาเครื่องมือวิจัย. กรุงเทพมหานคร : ด่านสุทธาการพิมพ์.
มนัญญา ลาหาญ. (2554). การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่านจับใจความบทร้อยกรองกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
ภาควิชาการพัฒนาหลักสูตรและการเรียนการสอน มหาวิทยาลัยราชภัฏอุบลราชธานี.
รัชนี แซ่อึ้ง. (2555). การสร้างหนังสือส่งเสริมการอ่านสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 การศึกษาค้นคว้าอิสระ ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต
มหาวิทยาลัยมหาสารคาม.
โรงเรียนบ้านดู่. (2557). ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2556, ผลการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ปีการศึกษา 2555.
ศรีสะเกษ : โรงเรียนบ้านดู่, 65 - 68. (อัดสำเนา)
ละเอียด ไกรทอง. (2556). การพัฒนาหนังสือส่งเสริมการอ่าน ชุด คุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียน เพื่อส่งเสริมความสามารถด้านการอ่านและการเขียนภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุรินทร์ เขต 2. วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสุรินทร์.
สนิท ตั้งทวี. (2546). อ่านไทย. ภาควิชาภาษาไทย และภาษาตะวันตก : มหาสารคาม.
สัมฤทธิ์ บวรเกิด. (2555).การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบร่วมมือ โดยใช้หนังสือส่งเสริมการอ่านเรื่อง การ อ่านและการเขียนคำควบกล้ำชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
วิทยานิพนธ์ครุศาสตรมหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏบุรีรัมย์.
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ. (2551). คู่มือการเรียนการสอนภาษาไทย คิดและเขียน สร้างสรรค์. กรุงเทพมหานคร : โรงพิมพ์องค์การค้าของสำนักงาน
คณะกรรมการส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา.
_______ . (2558). สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานและสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษากับการแก้ปัญหา อ่านไม่ออก เขียนไม่ได้. กรุงเทพมหานคร :
โรงพิมพ์ส่งเสริมสวัสดิการและสวัสดิภาพครูและบุคลากรทางการศึกษา. ลาดพร้าว.
อภิชาติ ชมพูทัศน์. (2552). การพัฒนาชุดกิจกรรมส่งเสริมการบทร้อยกรองโดยเน้นการเรียนรู้แบบร่วมมือกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษามหาบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฎสกลนคร
Maslow, Abraha Harold. (1970). Motivation and Personality. New York : Harper and Row.
Scott, Myers M. (1970). Every Employer a Manager : More Meaningful Work through Job Environment. New York : McGraw-hill