เข้าสู่ระบบ หรือ ลงทะเบียน เพื่อส่งบทความ

ในขั้นตอนการส่งบทความ ผู้แต่งต้องตรวจสอบและปฏิบัติตามข้อกำหนดรายการตรวจสอบการส่งทุกข้อ ดังต่อไปนี้ และบทความอาจถูกส่งคืนให้กับผู้แต่งกรณีที่ไม่ปฏิบัติตามข้อกำหนดทั้งหมด

  • The submission has not been previously published, nor is it before another journal for consideration (or an explanation has been provided in Comments to the Editor).
  • The submission file is in OpenOffice, Microsoft Word, RTF, or WordPerfect document file format.
  • Where available, URLs for the references have been provided.
  • The text is single-spaced; uses a 12-point font; employs italics, rather than underlining (except with URL addresses); and all illustrations, figures, and tables are placed within the text at the appropriate points, rather than at the end.
  • The text adheres to the stylistic and bibliographic requirements outlined in the Author Guidelines, which is found in About the Journal.
  • If submitting to a peer-reviewed section of the journal, the instructions in Ensuring a Blind Review have been followed.

คำแนะนำสำหรับผู้เแต่ง

รูปแบบและวิธีการเขียนบทความ

วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

                วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร เป็นวารสารวิชาการที่มีมาตรฐานตามเกณฑ์วารสารวิชาการระดับชาติที่เผยแพร่ผลงาน บทความวิชาการ (Articles), บทความวิจัย  (Research Articles) ,บทความปริทัศน์ (Review Articles) การวิจารณ์หนังสือ (Book Review) ในสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ที่จัดพิมพ์เผยแพร่โดยคณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสื่อกลางแสดงความคิดเห็นเชิงวิชาการของคณาจารย์และนักวิชาการทางการศึกษา ทั้งในและนอกคณะศึกษาศาสตร์ และเพื่อเผยแพร่ผลงานทางวิชาการของคณะศึกษาศาสตร์ นักวิชาการ และนักศึกษา  ทั้งนี้มีผู้ทรงคุณวุฒิที่มีความเชี่ยวชาญในสาขาวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เป็นผู้ประเมินเพื่อการพิจารณาคุณค่าของงานที่จะตีพิมพ์    กำหนดเผยแพร่ปีละ 2 ฉบับ คือฉบับที่ 1 เดือนมิถุนายน-ตุลาคม และฉบับที่ 2 เดือน พฤศจิกายน-มีนาคม

ประเภทของบทความที่ตีพิมพ์  ประกอบด้วย

1.       บทความวิชาการ  (Academic article)            
2.       บทความวิจัย (Research article)     

การเตรียมต้นฉบับบทความวิชาการ

1. การพิมพ์ ใช้ตัวอักษร Angsana New  ในส่วนของหัวข้อเรื่อง ใช้ขนาดตัวอักษร16 ตัวหนา และในส่วนของเนื้อหา ใช้ขนาดตัวอักษร 15 ตัวปกติ กระดาษขนาด A4 เว้นทั้ง 4 ด้าน1 นิ้ว (2.5 ซม.) พร้อมระบุเลขหน้า ความยาวของเนื้อเรื่อง รวมรูปภาพ ตาราง
2. ชื่อเรื่อง (Title) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรกระชับและตรงกับเนื้อเรื่อง ขนาดตัวอักษร 18 ตัวหนาจัดชิดชอบซ้าย
3. ชื่อผู้เขียน (Authors)  ให้ระบุเฉพาะชื่อ และนามสกุล  โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม ขนาดตัวอักษร 15 ตัวปกติจัดชิดขอบซ้ายอยู่ถัดลงมาจากชื่อเรื่องตามด้วยเครื่องหมายดอกจัน(asterisk) ตัวเล็กกำกับเหนือตัวอักษรสุดท้ายของนามสกุลจำนวน 1 เครื่องหมายดอกจัน  หากมีผู้เขียนหลายคนให้ใส่เครื่องหมายเครื่องหมายดอกจันตัวเล็กกำกับเหนือตัวอักษรสุดท้ายของนามสกุลตามลำดับ เช่นผู้เขียนคนที่ 2   ให้ใส่เครื่องหมายดอกจันตัวเล็กกำกับเหนือตัวอักษรสุดท้ายของนามสกุลจำนวน 2 เครื่องหมายดอกจันทร์
4. ตำแหน่งทางวิชาการ สถานที่ทำงานของผู้เขียน ให้พิมพ์เครื่องหมายดอกจันทร์ตัวเล็ก และตามด้วยตำแหน่งทางวิชาการ  สถานที่ทำงานของผู้เขียน ขนาดตัวอักษร 12 ตัวปกติชิดขอบซ้ายด้านล่างสุดของกระดาษในหน้าที่ 1 หากมีผู้เขียนหลายคนให้ใส่เครื่องหมายดอกจันทร์ตามลำดับ
5. บทคัดย่อ  (Abstract)  จะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษความยาวไม่เกิน 15 บรรทัด (200 คำ)  
6. คำสำคัญ (Keywords)  ต้องมีคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษาอย่างละไม่เกิน 5     
7. เนื้อเรื่อง (Text)  ประกอบด้วย บทนำ เนื้อหา และบทสรุป  หากมีภาพประกอบกราฟ หรือตาราง ให้ใส่ประกอบไว้ในเนื้อเรื่อง ต้องมีชื่อและเลขกำกับภาพ กราฟ ตาราง ตัวอักษรที่ปรากฏในภาพกราฟ ตารางต้องเป็นตัวอักษรชนิดเดียวกับที่ใช้ในบทความ และความมีความชัดเจน ความยาวของเรื่อง รวมภาพ ตาราง ไม่ควรเกิน  20 หน้า
8. เอกสารอ้างอิงใช้ระบบ  (Name-year Reference)   สามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.educ.su.ac.th เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจน อาจเป็นวารสารหนังสือหรือแหล่งข้อมูลอินเตอร์เน็ตก็ได้ทั้งนี้ผู้เขียนเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมดในการตีพิมพ์บทความ

การเตรียมต้นฉบับบทความบทความวิจัย

1. การพิมพ์ ใช้ตัวอักษร Angsana New  ในส่วนของหัวข้อเรื่อง ใช้ขนาดตัวอักษร16 ตัวหนา และในส่วนของเนื้อหา ใช้ขนาดตัวอักษร 15 ตัวปกติ กระดาษขนาด A4 เว้นทั้ง 4 ด้าน1 นิ้ว (2.5 ซม.) พร้อมระบุเลขหน้า ความยาวของเนื้อเรื่อง รวมรูปภาพ ตาราง
2. ชื่อบทความ (Title) ต้องมีทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ ควรกระชับและตรงกับเนื้อเรื่อง ขนาดตัวอักษร 18 ตัวหนา
3. ชื่อผู้เขียน (Authors)  ให้ระบุเฉพาะชื่อ และนามสกุล  โดยไม่ต้องมีคำนำหน้านาม ขนาดตัวอักษร 15 ตัวปกติจัดชิดขอบซ้ายอยู่ถัดลงมาจากชื่อเรื่องตามด้วยเครื่องหมายดอกจัน(asterisk) ตัวเล็กกำกับเหนือตัวอักษรสุดท้ายของนามสกุลจำนวน 1 เครื่องหมายดอกจัน  หากมีผู้เขียนหลายคนให้ใส่เครื่องหมายเครื่องหมายดอกจันตัวเล็กกำกับเหนือตัวอักษรสุดท้ายของนามสกุลตามลำดับ เช่นผู้เขียนคนที่ 2   ให้ใส่เครื่องหมายดอกจันตัวเล็กกำกับเหนือตัวอักษรสุดท้ายของนามสกุลจำนวน 2 เครื่องหมายดอกจันทร์
4. ตำแหน่งทางวิชาการ สถานที่ทำงานของผู้เขียน ให้พิมพ์เครื่องหมายดอกจันทร์ตัวเล็ก และตามด้วยตำแหน่งทางวิชาการ สถานที่ทำงานของผู้เขียน ขนาดตัวอักษร 12 ตัวปกติชิดขอบซ้ายด้านล่างสุดของกระดาษ  ในหน้าที่ 1 หากมีผู้เขียนหลายคนให้ใส่เครื่องหมายดอกจันทร์ตามลำดับ
5. บทคัดย่อ  (Abstract)  จะต้องมีบทคัดย่อทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษความยาวไม่เกิน 15 บรรทัด (200 คำ)   โดยเขียนให้กะทัดรัด  ตรงประเด็น ครอบคลุมสาระสำคัญของการศึกษา ได้แก่ วัตถุประสงค์ วิธีการ ผลและวิจารณ์ เป็นต้น
6. คำสำคัญ (Keywords)  ต้องมีคำสำคัญทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษไว้ท้ายบทคัดย่อของแต่ละภาษาอย่างละไม่เกิน 5     
7. เนื้อเรื่อง (Text) 

  • คำนำ (Introduction) อธิบายความสำคัญของปัญหาและวัตถุประสงค์ของการวิจัย
  • อุปกรณ์และวิธีการ (Materials and Methods)  ให้ผู้เขียนบรรยายโดยสรุป ในเรื่องของการอธิบายเครื่องมือ พร้อมระบุวิธีการวิจัย วิธีการเก็บข้อมูล ระยะเวลาและปีที่ทำการวิจัย รวมทั้งวิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
  • ผลการวิจัย (Results)  ให้นำเสนอในรูปของตารางแสดงผล และรูปภาพโดยสรุปหลังจากการวิเคราะห์ทางสถิติแล้ว  ไม่จำเป็นต้องแสดงวิธีการวิเคราะห์ทางสถิติ ทั้งนี้คำอธิบายและรายละเอียดต่าง ๆ ของตารางและรูปภาพต้องมีความชัดเจน กระชับ และมีหมายเลขกำกับด้านล่างของภาพ หรือตาราง
  • การวิจารณ์ผล (Discussion) การสรุปผล (Conclusion) และการให้ข้อเสนอแนะ (Suggestion)  ควรวิจารณ์ผลการวิจัยพร้อมทั้งสรุปประเด็น และสาระสำคัญของงานวิจัย หรือให้ข้อเสนอแนะบนพื้นฐานของผลการวิจัย

8. กิตติกรรมประกาศ  (Acknowledgement) (เพื่อแสดงความขอบคุณแก่ผู้ให้ทุนวิจัย หรือผู้ที่ได้ให้ความช่วยเหลือในการวิจัย)
9. การเขียนเอกสารอ้างอิงใช้ระบบ (APA Style) สามารถดูรายละเอียดได้ที่ www.educ.su.ac.th
10. เอกสารที่นำมาอ้างอิงควรได้มาจากแหล่งที่มีการตีพิมพ์ชัดเจนอาจเป็นวารสารหนังสือหรือแหล่งข้อมูลอินเตอร์เน็ตก็ได้ทั้งนี้ผู้เขียนเป็นผู้รับผิดชอบต่อความถูกต้องของเอกสารอ้างอิงทั้งหมดในการตีพิมพ์บทความ

การอ้างอิง

1.  การอ้างอิงในเนื้อหาใช้ระบบนาม-ปี (Name-year Reference)  

     1.1 การอ้างอิงในเนื้อหาจากสื่อทุกประเภท ลงในรูปแบบ “ชื่อผู้เขียน ปีพิมพ์ : เลขหน้าที่ปรากฏ” อยู่ในเครื่องหมายวงเล็บเล็ก

    1.2  ผู้เขียนคนไทยลงชื่อ-สกุล  ส่วนผู้เขียนชาวต่างชาติลงเฉพาะนามสกุล   ดังตัวอย่าง

-  โสเกรติสย้ำว่าการอ่านสามารถจุดประกายได้จากสิ่งที่นักอ่านรู้อยู่แล้วเท่านั้นและความรู้ที่ได้รับมาไม่ได้มาจากตัวหนังสือ (แมนเกล 2546:127)

- สุมาลี วีระวงศ์ (2552:37) กล่าวว่า การที่ผู้หญิงจะไปสื่อชักผู้ชายมาบ้านเรือนของตัวเองทั้งๆที่เขายังไม่ได้มาสู่ขอนั้น เป็นเรื่องผิดขนบธรรมเนียมจารีตประเพณี

หมายเหตุ: ทุกรายการที่อ้างอิงในเนื้อหา  ต้องปรากฏในรายการบรรณานุกรมเสมอ

2.  บรรณานุกรม (Bibliography)   

   - การเขียนบรรณานุกรมใช้รูปแบบของ APA (American Psychology Association)  ดังตัวอย่างตามชนิดของเอกสารดังนี้

            2.1 หนังสือ

ชื่อ-สกุลผู้แต่ง. \\ (ปีพิมพ์). \\ ชื่อหนังสือ. \\ ครั้งที่พิมพ์. \\ เมืองที่พิมพ์: \ สำนักพิมพ์.    

ตัวอย่าง

แมนเกล, อัลแบร์โต.  (2546).  โลกในมือนักอ่าน.  พิมพ์ครั้งที่ 4.  กรุงเทพฯ: พิฆเณศ พริ้นติ้ง เซ็นเตอร์.

สุมาลี  วีระวงศ์.  (2552).  วิถีชีวิตไทยในลิลิตพระลอ.  พิมพ์ครั้งที่ 3.  กรุงเทพฯ: สถาพรบุ๊คส์.

Tidd, J., Bessant, J. and Pavitt, K.  (2001).  Managing innovation.   2nd ed.  Chichester: John Wiley and Sons.

            2.2 บทความวารสาร

ชื่อ-สกุลผู้เขียน. \\ (ปี) \\ ชื่อบทความ. \\ ชื่อวารสาร \ ปีที่, \ (ฉบับที่) \ : \ หน้าที่ปรากฏบทความ.   

ตัวอย่าง

ผ่อง  เซ่งกิ่ง.  (2528).  ศิลปกรรมอันเนื่องกับไตรภูมิ.   ปาจารยสาร 12 (2) : 113-122.

Shani, A., Sena, J. and Olin, T.  (2003).  Knowledge management and new product development: a study of two companies.  European Journal of Innovation Management  6 (3) : 137-149.

            2.3 วิทยานิพนธ์

ชื่อผู้เขียนวิทยานิพนธ์. \\ (ปีการศึกษา). \\ ชื่อวิทยานิพนธ์. \\ ระดับปริญญา \ สาขาวิชาหรือภาควิชา \ คณะ \ มหาวิทยาลัย.

ตัวอย่าง

ปณิธิ  อมาตยกุล.   (2547).   การย้ายถิ่นของชาวไทใหญ่เข้ามาในจังหวัดเชียงใหม่.   วิทยานิพนธ์ปริญญา

                    ศิลปศาสตรมหาบัณฑิต  สาขาวิชาภูมิภาคศึกษา  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

วันดี  สนติวุฒิเมธี.  (2545).  กระบวนการสร้างอัตลักษณ์ทางชาติพันธุ์ของชาวไทใหญ่ชายแดนไทย-พม่า  
                  กรณีศึกษา  
หมู่บ้านเปียงหลวง อำเภอเวียงแหง จังหวัดเชียงใหม่.  วิทยานิพนธ์ปริญญา
                  สังคมวิทยาและมานุษยวิทยามหาบัณฑิต  สาขาวิชามานุษยวิทยา  มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์.

            2.4 สื่ออิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ

                 2.4.1 หนังสือออนไลน์ (online / e-Book)

ชื่อผู้เขียน. \\ (ปีที่พิมพ์) \\ ชื่อเรื่อง. \\ [ประเภทของสื่อที่เข้าถึง]. \\ สืบค้นเมื่อ \\ วัน \ เดือน \ ปี. \\ จาก \\ แหล่งข้อมูลหรือ URL

สรรัชต์  ห่อไพศาล.  (2552).  นวัตกรรมและการประยุกต์ใช้เทคโนโลยีเพื่อการศึกษาในสหัสวรรษ
                ใหม่ 
: กรณี การจัดการเรียนการสอนผ่านเว็บ (Web-Based Instruction : WBI).  [ออนไลน์].    
                
สืบค้นเมื่อ 1  พฤษภาคม 2553.  จาก https://ftp.spu.ac.th/hum111/main1_files.

Humm, M. (1997). Feminism and film. [Online]. Retrieved October 20, 2001, from

https://www.netlibrary.com

                 2.4.2 บทความจากวารสารออนไลน์ (online / e-journal

Author, A. A., and Author, B. B. \\ (Date of publication). \\ Title of article. \\ Title of Journal  volume (number) : pages. \\ [Online]. \\ Retrieved …month date, year. \\ from….source or URL….

ตัวอย่าง

Kenneth, I.A.  (2000).  A Buddhist response to the nature of human rights.  Journal of Buddhist Ethics  8(3):13-15.  [Online].  Retrieved March 2, 2009,  from https://www.cac.psu.edu/jbe/twocont.html.    

Webb, S.L.  (1998).  Dealing with sexual harassment.  Small Business Reports 17 (5):11-14.  [Online].  Retrieved January 15, 2005,  from BRS, File: ABI/INFORM Item: 00591201.

                 2.4.3 ฐานข้อมูล

ธนาคารแห่งประเทศไทย.  (2550).  แรงงานต่างด้าวในภาคเหนือ.    [ออนไลน์].  สืบค้นเมื่อ  2 กันยายน 2550.  จาก https://www.Bot.or.th/BotHomepage/databank /RegionEcon/ northern /public/Econ/ch 7/42BOX04. HTM. 

Beckenbach, F. and Daskalakis, M.  (2009).  Invention and innovation as creative problem solving activities: A contribution to evolutionary microeconomics [Online].  Retrieved September 12, 2009,  from https:www.wiwi.uni-augsburg.de/vwl/hanusch/emaee/ papers/Beckenbach_neu.pdf.