ผลของการสร้างบรรทัดฐานทางการศึกษาในระบบโรงเรียน ผ่านเรื่องเล่าของผู้เรียนระดับชั้นมัธยมศึกษา

Main Article Content

กฤษดา ปั้นเอี่ยม

บทคัดย่อ

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลของการสร้างบรรทัดฐานทางการศึกษา เปิดเผยให้สังคมได้รับรู้ถึงความรุนแรงของอำนาจที่เข้าไปกระทำต่ออัตลักษณ์ของผู้เรียน นอกจากนี้ ยังต้องการให้สังคมได้เห็นถึงเรื่องราวที่ถ่ายทอดจากประสบการณ์ตรงของผู้เรียน รวมไปถึงกระบวนการต่อรองอัตลักษณ์ของผู้เรียนผ่านการวิเคราะห์เรื่องเล่า ผลการศึกษาพบว่า บรรทัดฐานทางการศึกษาที่ปรากฏภายใต้วาทกรรมการศึกษาขั้นพื้นฐาน คือ หลักสูตรแกนกลางการศึกษาแห่งชาติที่คิดขึ้นมาโดยรัฐบาล ซึ่งเนื้อหามีการแบ่งรายวิชาเรียนออกเป็นกลุ่มวิชาหลักและกลุ่มวิชารอง มีการให้น้ำหนักคะแนนในรายวิชาทั้งสองกลุ่มไม่เท่ากัน อีกทั้งโรงเรียนยังใช้วิธีการวัดผลสัมฤทธิ์ทางการศึกษาด้วยการสอบและจัดอันดับผู้เรียนด้วยค่าเกรดเฉลี่ย ปรากฏการณ์เหล่านี้ส่งผลกระทบต่อผู้เรียนโดยตรง ทำให้ผู้เรียนไม่มีแรงจูงใจในการเรียน เกิดความรู้สึกถึงความไม่ยุติธรรมเพราะสังคมให้ความสำคัญกับกลุ่มผู้เรียนที่มีความถนัดในกลุ่มรายวิชาหลักมากกว่ารายวิชารอง  ผู้เรียนถูกแบ่งสถานะออกเป็นกลุ่มผู้เรียนที่เรียนผ่านเกณฑ์และไม่ผ่านเกณฑ์ ทำให้ผู้ปกครองจำนวนมากต้องส่งบุตรหลานไปยังสถาบันเรียนพิเศษเพื่อต้องการจะก้าวข้ามบรรทัดฐานดังกล่าว กระบวนการต่อรองอัตลักษณ์ของผู้เรียนภายใต้บรรทัดฐานและผลกระทบดังกล่าว เป็นไปในสองรูปแบบ คือ 1.) การต่อรองอัตลักษณ์สู่ความจำนน ยอมรับความไม่ยุติธรรมและการถูกจัดอันดับชั้น สวมใส่อัตลักษณ์ “เด็กดี” ตามที่สังคมกำหนด 2.) การต่อรองอัตลักษณ์ที่เกิดสุนทรียะ จะเกิดขึ้นต่อเมื่อผู้เรียนได้รับโอกาสจากครอบครัว เพื่อน หรือคนใกล้ชิดที่มีความเข้าใจในมายาคติของบรรทัดฐานที่เกิดขึ้นในสังคม

Article Details

บท
บทความวิจัย (Research Articles)

References

ภาษาไทย
Rujareun, T. (2002). rāingān kānwičhai rư̄ang saphāp læ panhā kānbō̜rihān læ kānčhatkān sưksākhan phư̄nthān khō̜ng sathān sưksā nai prathēt thai. Bangkok: Office of the National Education.
ธีระ รุญเจริญ. (2545). รายงานการวิจัยเรื่องสภาพและปัญหาการบริหารและการจัดการศึกษาขั้นพื้นฐานของสถานศึกษาในประเทศไทย. กรุงเทพมหานคร: สํานักงานคณะกรรมการการศึกษาแห่งชาติ.
Thanosawan, U. (2002). kānsưksā nai rabop : patibatkān thāng ʻamnāt phān khwāmrū læ kānsāng khwāmpen ʻư̄n hai kap chumchon mūbān. Doctoral dissertation. Department of Development Education. Srinakharinwirot University.
อุษณีย์ ธโนศวรรย์. (2545). การศึกษาในระบบ : ปฏิบัติการทางอำนาจผ่านความรู้และการสร้างความเป็นอื่นให้กับชุมชนหมู่บ้าน. วิทยานิพนธ์ปริญญาการศึกษาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา คณะศึกษาศาสตร์, มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ.

ภาษาต่างประเทศ
Foucault, M. (1970). The Order of Things: An Archeology of the Human Sciences. New York: Vintage Books.
Rich, Y., & Schachter, E. P. (2012). “High school identity climate and student identity development”. Contemporary Educational Psychology, 37(3), 218-228.
Scott, J. (1990). A matter of record: documentary sources in social research: John Wiley & Sons.
Spohrer, K. (2016). “Negotiating and Contesting "Success": Discourses of Aspiration in a UK Secondary School” Discourse: Studies in the Cultural Politics of Education, 23(3), 411-425.