กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน (Educational Institution’s Administrative Strategy According to Sufficiency Economy Philosophy for Sustainable Development)

Main Article Content

จักรพงศ์ มัตสยะวนิชกูล (Jakapong Massayawanitkul)
พิชญาภา ยืนยาว (Pitchayapa Yuenyaw)

Abstract

       บทนำ


          การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) พัฒนากลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน 3) ยืนยันกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน และ 4) ทดลองใช้กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ผู้บริหาร และครู ในสถานศึกษาพอเพียง ตั้งแต่ปีการศึกษา 2550 ถึง ปีการศึกษา 2559 ในพื้นที่ภาคกลาง ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน จำนวน 300 คน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสัมภาษณ์กึ่งโครงสร้าง แบบสอบถาม แบบบันทึกการประชุมเชิงปฏิบัติการ ประเด็นการสนทนากลุ่มและประเด็นการเสวนาผู้ที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษา สถิติที่ใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เชิงเนื้อหา


            ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพปัจจุบันของการบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก ทั้งในภาพรวมและรายด้าน 2) การยกร่างกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ประกอบด้วย 5 ด้าน 19 กลยุทธ์ 3) การยืนยันกลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนได้กลยุทธ์ จำนวน 5 ด้าน 29 กลยุทธ์ 4) การทดลองใช้กลยุทธ์การบริหารสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเพื่อการพัฒนาอย่างยั่งยืน ได้กำหนดวิสัยทัศน์ พันธกิจ เป้าหมาย และกลยุทธ์ของโรงเรียน จำนวน 5 ด้าน 29 กลยุทธ์ และการจัดประชุมเสวนาผู้ที่เกี่ยวข้องได้วิธีการดำเนินงานตามกลยุทธ์


Abstract


The objectives of this dissertation were to 1) investigate the current status of the educational institution administration according to the sufficiency economy philosophy; 2) to develop the educational institution management strategy according to the philosophy of sufficiency economy for sustainable development; 3) confirm the educational institution’s administrative strategy according to sufficiency economy philosophy for sustainable development; and 4) experiment study on applying the strategy of the educational institution administration in accordance with the philosophy of  the Sufficiency Economy for Sustainable Development.


The research sample was role model educational institutions in learning activity management and administration according to sufficiency economy philosophy for sustainable development (sufficiency schools). They were under the jurisdiction of Office of Basic Education Commission from the academic year 2007 to 2016 in Central Region. Multi-stage sampling was adopted in this research. The data collection was conducted by employing a semi-structured questionnaire, group discussion and the discussed issues of the concerned people in the educational institutes. The statistics used in this research were frequency, percentage, mean, standard deviation and content analysis was adopted in qualitative method.


The research findings were as follows: 1) Recently status of school administration according to philosophy of sufficiency economy were very high 2) Administrative strategy drafting for the educational institution according to Sufficiency Economy Philosophy for Sustainable Development consists of 5 aspects: 19 strategies; 3) The confirmation of institution administration strategy in accordance with Sufficiency Economy Philosophy found 5 aspects and 25 strategies 4) Experimenting with the philosophy of sufficiency economy for sustainable development resulted the vision, mission, goals for 5 aspects; 29 Strategies.  Finally the conferences able to defined strategic mechanism and implementation planning.

Article Details

Section
บทความวิจัย