รูปแบบการบริหารทีมงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา (The Model of Teamwork Management of Heads of Department in Secondary School)

ผู้แต่ง

  • วราภรณ์ สิงห์กวาง (Waraporn Singkwang) สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร จังหวัดพิษณุโลก
  • จิติมา วรรณศรี (Jitima Wannasri)

คำสำคัญ:

รูปแบบการบริหารทีมงาน/ หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้/ โรงเรียนมัธยมศึกษา

บทคัดย่อ

                  การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารทีมงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ดำเนินการวิจัย 3 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาสภาพและแนวทาง      การบริหารทีมงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา 2) การสร้างและตรวจสอบรูปแบบการบริหารทีมงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา และ     3) การประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารทีมงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา กลุ่มตัวอย่างการศึกษาสภาพการบริหารทีมงานเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตภาคเหนือ จำนวน 44 โรงเรียน จำนวน 352 คน ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) กลุ่มตัวอย่างการศึกษาแนวทางการบริหารทีมงานเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตภาคเหนือ จำนวน 3 โรงเรียน จำนวน 24 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive  Selection) กลุ่มตัวอย่างการตรวจสอบรูปแบบการบริหารทีมงานเป็นผู้ทรงคุณวุฒิ จำนวน 9 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง และกลุ่มตัวอย่างการประเมินรูปแบบการบริหารทีมงานเป็นหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขตภาคเหนือ จำนวน 10 โรงเรียน จำนวน 80 คน ที่ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง วิเคราะห์ข้อมูลโดยหาค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) สภาพการบริหารทีมงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา มี 2 องค์ประกอบ ได้แก่ 1.1) ปัจจัยการบริหารทีมงาน และ 1.2) กระบวนการบริหารทีมงาน 2) รูปแบบการบริหารทีมงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษา ประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ 2.1) ปัจจัยการบริหารทีมงาน คือ ผู้นำทีม ครู งบประมาณ สื่อ วัสดุอุปกรณ์ และสภาพแวดล้อม 2.2) กระบวนการบริหารทีมงาน คือ การวางแผนด้วยเครือข่าย ความร่วมมือ การปฏิบัติการแบบร่วมรับผิดชอบ การนิเทศแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์และการประเมินและปรับปรุง และ 2.3) ประสิทธิผลการบริหารงานวิชาการ ได้แก่ ประสิทธิผลของทีมงาน และ ประสิทธิผลของผู้เรียน 3) ผลการประเมินความเป็นไปได้ของรูปแบบการบริหารทีมงานของหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ในโรงเรียนมัธยมศึกษาในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด

เผยแพร่แล้ว

2019-02-15

ฉบับ

บท

บทความวิจัย