การพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program) โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร (ปฐมวัยและประถมศึกษา) ระดับปฐมวัย (The English Program Curriculum Development at the Demonstration School of Silpakorn University (Early Childhood and Elementary) Early Childhood Level)

ผู้แต่ง

  • สิรินทร์ ลัดดากลม บุญเชิดชู (Sirin Laddaklom Booncherdchoo)
  • สุวิมล สพฤกษ์ศรี (Suwimon Saphuksri)
  • ธนาภา สงค์สมบัติ (Thanapa Songsombat)
  • ณัฐพัชร์ วงศพูดเพราะ (Natthapach Wongpoodpraw)

คำสำคัญ:

คำสำคัญ : การพัฒนาหลักสูตร/ หลักสูตรภาษาอังกฤษ/ ปฐมวัย

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันสำหรับการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program) และ 2) เพื่อจัดทำข้อเสนอการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program) ของโรงเรียน กลุ่มผู้ให้ข้อมูล ประกอบด้วย 1) ผู้ปกครองนักเรียน ปีการศึกษา 2558 จำนวน 123 คน 2) ชุมชน จำนวน 66 คน 3) ผู้บริหารสถานศึกษา จำนวน 3 คน 4) หัวหน้าสายชั้นระดับปฐมวัยและประถมศึกษา จำนวน 9 คน 5) ตัวแทนผู้ปกครอง จำนวน 18 คน 6) คณะกรรมการสถานศึกษา จำนวน 15 คน 7) ผู้บริหารสถานศึกษาที่เป็นตัวอย่าง (Best Practice) จำนวน 2 คน จาก 2 โรงเรียน 8) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านภาษาอังกฤษ จำนวน 2 คน และ 9) ผู้ทรงคุณวุฒิด้านการศึกษาปฐมวัย จำนวน 1 คน ขั้นตอนการวิจัย ประกอบด้วย ระยะที่ 1 การศึกษาความคาดหวังและสภาพปัจจุบัน ของการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ และระยะที่ 2 การจัดทำข้อเสนอการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย ประเด็นการสนทนากลุ่ม แบบวิเคราะห์ข้อเสนอ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการวิเคราะห์เนื้อหาสำหรับข้อมูลเชิงคุณภาพ และวิธีการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้วิธีการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)

ผลการวิจัยพบว่า

  1. ผลการศึกษาสภาพปัจจุบันสำหรับการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program) ของโรงเรียน พบว่า 1) ภาษาอังกฤษมีความจำเป็นต่อนักเรียนเพื่อยกระดับความเป็นสากลและเตรียมพร้อมเข้าสู่ AEC 2) ผู้สอนควรเป็นเจ้าของภาษา มีสัญชาติอังกฤษและอเมริกัน 3) สัดส่วนการเรียนการสอนที่เป็นภาษาอังกฤษกับภาษาไทยควรจัดให้สมดุลโดยชั้นอนุบาลปีที่ 1 มีสัดส่วนร้อยละ 50 : 50 ต่อสัปดาห์ ชั้นอนุบาลปีที่ และชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีสัดส่วนร้อยละ 60 : 40 ต่อสัปดาห์ 4) ควรเน้นการสอนเพื่อให้เด็กมีทัศนคติที่ดีต่อภาษาอังกฤษและรู้จักยอมรับวัฒนธรรมที่แตกต่าง ลักษณะเรียนปนเล่น กิจกรรม Multiple Intelligences และกิจกรรมบูรณาการ STEM และ STEAM 5) ความคาดหวังต่อนักเรียน คือกล้าแสดงออกในการใช้ภาษาและสามารถสื่อสารภาษาอังกฤษในชีวิตประจำวันได้อย่างมั่นใจ 6) การประเมินผล ควรเป็นการวัดความพร้อมทางวิชาการ ด้านภาษาอังกฤษทั้งฟัง พูด อ่าน เขียน ที่มีระดับที่แตกต่างของระดับชั้น ควบคู่กับการประเมินผลพัฒนาการทั้ง 4 ของเด็ก
  2. ผลการจัดทำข้อเสนอการพัฒนาหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program) ผู้ทรงคุณวุฒิมีความเห็นด้วยกับความสอดคล้องของหลักสูตรภาษาอังกฤษ (English Program) โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และเมื่อนำมาวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ผู้ทรงคุณวุฒิให้ความคิดเห็นว่า เป็นหลักสูตรที่สะท้อนจุดเด่นและเอกลักษณ์ของการศึกษาในระดับปฐมวัยได้ดีเพราะการออกแบบหลักสูตรเป็นไปตามหลักการและความต้องการของผู้ปกครองและชุมชน

References

Kittiphop Rattanakornkun læ Sangīam Tōrat. (2018). “Effects of an English Reading Supplementary Material Focusing on ASEAN Themes on the Reading Comprehension Ability of Mattayom Suksa-Five Students of
Boonmee Rangsarit School”. Silpakorn Educational Research Journal, 9 (2) 176 – 189.
กิตติภพ รัตนากรกุล และ เสงี่ยม โตรัตน์. (2561). “ผลการใช้สื่อเสริมทักษะการอ่านภาษาอังกฤษเพื่อความเข้าใจที่เน้นเนื้อหาเกี่ยวกับประชาคมอาเซียนสําหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 5 โรงเรียน งิ้วรายบุญมีรังสฤษดิ์ี”. วารสาร
ศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 9 (2) 176 – 189.
Ministry of Education. (2014). Notification of the Ministry of Education of Reform English Teaching Policy. Accessed August 12, 2014. Available from file:///C:/Users/ Napadech-PC/ Downloads/
5705140101%20(1).pdf.
กระทรวงศึกษาธิการ. (2557). ประกาศกระทรวงศึกษาธิการเรื่อง นโยบายการปฏิรูปการเรียนการสอน
ภาษาอังกฤษ. เข้าถึงเมื่อ 12 สิงหาคม 2560. เข้าถึงได้จาก file:///C:/Users/ Napadech-PC/ Downloads/5705140101%20(1).pdf.
Chaiporn Skuphanarak. (2009). A Model of Thailand English School Administration. A Doctoral Dissertation of Philosophy in Educational Administration Silpakorn University.
ชัยพร สกุลพนารักษ์. (2552). รูปแบบการบริหารโรงเรียนสองภาษาสำหรับประเทศไทย. ดุษฎีนิพนธ์
ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยศิลปากร.
Nisachon Naksamruaj. (1993). A comparison of evaluation in English oral communicative competence of mathayom suksa five students between native and non-native English teachers. Thesis of Mater of
Educational in Secondary Education Program Chulalongkorn University.
นิศาชล นักสำรวจ. (2536). การเปรียบเทียบการประเมินผลความสามารถในการสื่อสารด้านการพูดภาษาอังกฤษ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ระหว่างครูภาษาอังกฤษที่เป็นเจ้าของภาษาและไม่ใช่เจ้าของภาษา. วิทยานิพนธ์ครุ ศาสตรมหาบัณฑิต สาขามัธยมศึกษา บัณฑิตวิทยาลัย จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย.
Maream Nillapun and others. (2015). “Evaluation of the Basic Education Core Curriculum 2008 in the Leading Schools for Curriculum Implementation”. Silpakorn Educational Research Journal, 12 (7) 26 – 41. มาเรียม นิลพันธุ์ และคณะ. (2558). “การประเมินผลการใช้หลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในโรงเรียนต้นแบบการใช้หลักสูตร”. วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย, 12 (7) 26 – 41.
Mathawee Tanwatthanaphong and others. (2017). “A Developmental Study of Thai Early Childhood Studying English with an American Teacher”. The 2nd National Conference, Research 4.0, The Country
Development for Stability, Prosperity and Sustainability. Ubonrachathani: Rachathani University, 1434-1446.
เมธาวี ตันวัฒนะพงษ์ และคณะ. (2560). “การศึกษาพัฒนาการทางภาษาของเด็กปฐมวัยที่เรียน
ภาษาอังกฤษกับครูชาวอเมริกัน”. การประชุมวิชาการเสนอผลงานวิจัยระดับชาติ ครั้งที่ 2 การวิจัย 4.0 เพื่อการพัฒนาประเทศสู่ความมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน. อุบลราชธานี: มหาวิทยาลัยราชธานี, 1434-1446.
Apisara Chotipaporn and Thirasak Unaromlert. (2015). “The Needs Assessment to Promote Learning Performance of Asean Community for Student of Vocational Training School in The Bangkok Metropolitan Area”
Silpakorn Educational Research Journal, 13 (7) 219 – 231.
อภิสรา โชติภาภรณ์ และธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ. (2558). “การประเมินความต้องการจำเป็นเพื่อส่งเสริมสมรรถนะด้านการเรียนในยุคประชาคมอาเซียนของผู้เรียนโรงเรียนฝึกอาชีพกรุงเทพมหานคร” วารสารศิลปากรศึกษาศาสตร์วิจัย,
13 (7) 219 – 231.
Arunee Holadah. (2016). Bilingual Children : Starting from Pre - School Age. Journal of Education Naresuan University, 18(1), 130-131.
อรุณี หรดาล. (2559). เด็กสองภาษา: สร้างได้ในวัยอนุบาล. วารสารศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร,
18(1), 130-131.

ภาษาต่างประเทศ
Johnson, K. & Morrow, K. (Eds.). (1981). Communication in the classroom:
Applications and methods for a communicative approach. London: Longman.
Littlewood, W.A. (1984). Communicative Language Teaching: An Introduction.
Cambridge: Cambridge University Press.
Willis, J (1996). A Framework for task-based learning. Harlow: Addison Wesley
Longman.

เผยแพร่แล้ว

2019-02-05

ฉบับ

บท

บทความวิจัย