การพัฒนาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์และคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

ผู้แต่ง

  • ศิริพิมล หงษ์เหม

คำสำคัญ:

การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ / ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์ /คุณลักษณะใฝ่เรียนรู้

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1)เปรียบเทียบผลการเรียนรู้เรื่อง ธรรมชาติของสิ่งมีชีวิตก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้2)ศึกษาความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้3)ศึกษาคุณลักษณะใฝ่เรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ และ4)ศึกษาความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเบญจมเทพอุทิศจังหวัดเพชรบุรีปีการศึกษา 2555จำนวน 40 คนผลการวิจัยพบว่า1)ผลการเรียนรู้ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 2)ความสามารถในการคิดแก้ปัญหาทางวิทยาศาสตร์หลังการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับดีโดยมีคะแนนในขั้นวางแผนเป็นลำดับที่หนึ่ง รองลงมาคือขั้นดำเนินการขั้นทำความเข้าใจและขั้นประเมินผลตามลำดับ 3)คุณลักษณะ ใฝ่เรียนรู้หลังการจัดการเรียนรู้อยู่ในระดับดีโดยมีคะแนนในองค์ประกอบมีความตั้งใจเป็นลำดับที่หนึ่ง รองลงมาคือแสวงหาความรู้ ช่างสังเกต มีความคิดริเริ่ม มีเหตุผล มีความพยายามและถ่ายทอดความรู้ตามลำดับ 4)ความคิดเห็นของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้ภาพรวมอยู่ในระดับเห็นด้วยมากโดยนักเรียนเห็นด้วยมากในด้านบรรยากาศในการเรียนรู้เป็นลำดับที่หนึ่งรองลงมาคือด้านประโยชน์ที่ได้รับและด้านการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เป็นลำดับสุดท้าย

The purposes of this research were to 1) compare learning achievement on nature of life before and after learning by inquiry approach, 2) study science-problem solving ability after learning by  inquiry approach, 3) study avidity for learning characteristicafter learning by inquiry approach, and 4) investigate the opinions of students towards the instruction by inquiry approach. Thesample were 40 tenth grade students ofBenchamatheputit school, Phetchaburi province in the academic year 2012. The results of this research were as follow: 1) The learning achievement before and after learning was statistically significant difference at .05 level. 2) The level of science-problem solving ability after learning was at good level whereas the scores were at a high level towardsthe ability to plan, the ability to conduct the problem solving process, the ability to define the problem and the evaluation.3)The level of avidity for learning characteristicafter learning was at good level whereas the scores were at a high level towards the intention, the knowledge discovery, the observation, the initiation, the reasoning, the effortand the communicationcharacteristics.4) The opinions of the students towards the instruction as a whole were at high agreement level, the students opinions were at a high agreement level towards the learning environments aspect, the usefulness aspect and the learning activities aspect.

เผยแพร่แล้ว

2014-06-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย