การพัฒนาเครื่องมือวัดทักษะชีวิต ตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1

Main Article Content

นฐมล สาดบางเคียน

Abstract

การวิจัยในครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อพัฒนาแบบวัดทักษะชีวิตตามจุดเน้นการพัฒนาคุณภาพผู้เรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ให้มีคุณภาพตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 2) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมาย และได้เครื่องมือเป็นแบบวัดทักษะชีวิต กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากาญจนบุรี เขต 1 จำนวน 370 คน ได้จากการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้วิจัย เป็นแบบวัดทักษะชีวิตแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ สถิติที่ใช้สำหรับการวิจัยได้แก่  สถิติ

 t – test Independent, สูตรสัมประสิทธิ์แอลฟาครอนบัค, วิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยันสถิติ Factor Analysis โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป และใช้เกณฑ์ปกติแบบเปอร์เซ็นไทล์

ผลการวิจัยพบว่า

1. แบบวัดทักษะชีวิตมีคุณภาพ ด้านความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหา เชิงโครงสร้าง ค่าอำนาจจำแนก และค่าความเชื่อมั่น มีความเหมาะสมกับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6

2. นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 มีทักษะชีวิตที่ดีขึ้นและมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามที่สถานศึกษากำหนด

3. โดยภาพรวม พบว่าองค์ประกอบทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก และสูงกว่าเกณฑ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

The objectives of this research are as follows: 1) The develop to measure life skills following the focus point on improving the quality of Pratom 6 students according to the Basic Education Curriculum 2001. 2) To generate normal for interpretation and to get life-skill assessment. The population in this research was 370 Pratom 6 students in  Kanchanaburi Primary Education Service Area Office 1 which was derived from multistage random. Tools used to research to get the multiple choice questions for life-skill assessment 40 items with four options. Statistics that are used for research T-test Independent statistics are as follows; The alpha coefficient formula Alfa  Cronbach;

Factor Analysis statistics using the finished program and use a regular tile percent criteria.

The results are:

1. The developed tool to measure life skills the focus points of quality is appropriate for Pratom 6 students

2. The good life have skills and desirable characteristics Pratom 6 students according to the Academy.

3. Overall it was found that all of the elements. When they were compared with the criteria, it was found that all appropriate aspects had the statistically significant at 0.5 higher than the criteria.  

Article Details

Section
บทความวิจัย