ปัจจัยที่ส่งผลต่อสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • เสาวลักษณ์ เรืองเกษมพงศ์

คำสำคัญ:

สุขภาพจิต/ผู้สูงอายุ/การทำกิจกรรม/ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา/การดูแลตนเอง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1)ระดับสุขภาพจิต การทำกิจกรรม ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและการดูแลตนเองของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม

 2) เปรียบเทียบสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำแนกตามเพศ อายุ ลักษณะการพักอาศัย ภาวะสุขภาพ การรับรู้ภาวะทางเศรษฐกิจของตนเองและรายได้จากการทำงาน 3) ศึกษาว่าการทำกิจกรรม ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาและการดูแลตนเองเป็นปัจจัยทำนายสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่นับถือศาสนาพุทธในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม จำนวน 396 คน โดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณตามลำดับความสำคัญของตัวแปรที่นำเข้าสมการผลการวิจัยพบว่า 1)ผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม มีสุขภาพจิตและการดูแลตนเองอยู่ในระดับดี  การทำกิจกรรม อยู่ในระดับปานกลาง ความศรัทธาในพระพุทธศาสนาอยู่ในระดับมาก 2)ผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ที่มีอายุ ลักษณะการพักอาศัย การรับรู้ภาวะทางเศรษฐกิจของตนเองและรายได้จากการทำงานต่างกัน มีสุขภาพจิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐมที่มีเพศ ภาวะสุขภาพต่างกัน มีสุขภาพจิตไม่แตกต่างกัน 3)ความศรัทธาในพระพุทธศาสนา การทำกิจกรรมและการดูแลตนเอง เป็นตัวแปรที่

สามารถทำนายสุขภาพจิตของผู้สูงอายุในเขตอำเภอเมืองนครปฐม จังหวัดนครปฐม ได้ร้อยละ 47.6 

อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001

The purposes of this research were 1) to study level of mental health,activity participation,

Buddhism faithfulness,self-care of the elderlies in Amphoe Mueang Nakhon Pathom Changwat  Nakhon Pathom. 2) to compare  mental health of the elderlies as classified by gender, age, accommodation, health status, perception of one,s own economics status and  income from work.

3) to determine activity participation, Buddhism faithfullness and self-care as predictors of the elderlies, mental health.Samples were 396 Buddhist elderlies in Amphoe Mueang Nakhon Pathom Changwat Nakhon Pathom, derived by Multi-stage Random Sampling Technique. Instruments used to collect data were questionnaires constructed by the researcher.The statistics used to analyze data were  percentage, mean, standard deviation, t-test, One –Way ANOVA and the Stepwise Multiple Regression Analysis.The results found that :1)The elderlies, mental health and self-care were fairly good. Activity participation were at the moderate level and Buddhism faithfullness were at the high level.2)The elderlies, mental health as classified by age, accommodation, perception of one,s own economics status and income from work were different statistically significant at .05, while there were not different as classified by gender and health status.3)Buddhism faithfullness, activity participation and self-care could predict the elderlies, mental health variable at the percentage of 47.6 with a statistical significance at .001.

เผยแพร่แล้ว

2014-12-15

ฉบับ

บท

บทความวิจัย