การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนการสอนกลุ่มวิชาภูมิศาสตร์ที่ส่งเสริมคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ของนักศึกษาครุศาสตร์ สาขาวิชาสังคมศึกษา

Main Article Content

วินัยธร วิชัยดิษฐ์

Abstract

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบ 2) เปรียบเทียบผลการ
เรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์กายภาพ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษา 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบ กลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาสาขาวิชาสังคมศึกษา ชั้นปีที่ 1 คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี จำนวน 50 คน เครื่องมือที่ใช้ได้แก่ รูปแบบการจัดการเรียนการสอน แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบ แบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ และแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้วิธีการทางสถิติและวิเคราะห์เนื้อหา ผลการศึกษาพบว่า รูปแบบการจัดการเรียนการสอน ประกอบด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการเรียนการสอน สาระความรู้และการปฏิบัติ สิ่งที่ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม สิ่งสนับสนุนและหลักการตอบสนอง มีกระบวนการเรียนการสอน 7 ขั้น คือ 1) เร้าความสนใจ
2) ให้ความรู้และฝึกปฏิบัติ 3) สร้างความคิดรวบยอด 4) ดำเนินการพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์5) ประเมินความก้าวหน้า 6) ส่งเสริมพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 7) ประเมินผล ได้ค่าประสิทธิภาพ ของรูปแบบ เท่ากับ 83.60/80.90 สูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ ผลการเรียนรู้วิชาภูมิศาสตร์กายภาพ แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลการเรียนรู้หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนและคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักศึกษาแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยคุณลักษณะอันพึงประสงค์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน สำหรับความพึงพอใจของนักศึกษาที่มีต่อรูปแบบอยู่ในระดับมาก โดยเฉพาะบรรยากาศในการเรียนไม่ตึงเครียด ทำให้นักศึกษาทราบผลการประเมินทันที

Article Details

Section
บทความวิจัย