รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเฉพาะความพิการ สำหรับเด็กหูหนวกในประเทศไทย

Main Article Content

พะโยม ชิณวงศ์

Abstract

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเฉพาะความพิการสำหรับเด็กหูหนวกในประเทศไทย และ 2) รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเฉพาะความพิการสำหรับเด็กหูหนวกในประเทศไทย เก็บข้อมูลโดยการใช้แบบสอบถาม เครื่องมือการวิจัย ประกอบด้วย แบบสอบถามและแบบบันทึกการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้เป็นค่าความถี่ ร้อยละ การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงยืนยัน (Confirmatory Factor Analysis) การวิเคราะห์เชิงสาเหตุ (Path Analysis) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis)ผลการวิจัยพบว่าองค์ประกอบองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเฉพาะความพิการสำหรับเด็กหูหนวกในประเทศไทย มี 5 องค์ประกอบ ได้แก่ (1) ความรอบรู้แห่งตน (2) แบบแผนความคิดอ่าน (3) การมีวิสัยทัศน์ร่วม(4) การเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีมและ (5) การคิดเชิงระบบ โดยมีตัวแปรองค์ประกอบ จำนวน 17, 12, 10, 21 และ 15 ตัวแปรตามลำดับและสามารถอธิบายความแปรปรวนขององค์ประกอบได้ร้อยละ 65.75รูปแบบการเป็นองค์การแห่งการเรียนรู้ของสถานศึกษาเฉพาะความพิการสำหรับเด็กหูหนวกในประเทศไทยที่เหมาะสมสำหรับอนาคต พบว่า (1) ความรอบรู้แห่งตน มีอิทธิพลทางตรงต่อการคิดเชิงระบบและทางอ้อมกับ แบบแผนความคิดอ่าน การมีวิสัยทัศน์ร่วม และการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (2) แบบแผนความคิดอ่าน มีอิทธิพลทางตรงต่อ การคิดเชิงระบบและทางอ้อม ได้แก่ ความรอบรู้แห่งตน การมีวิสัยทัศน์ร่วม และการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม (3) การมีวิสัยทัศน์ร่วม และการเรียนรู้ร่วมกันเป็นทีม มีอิทธิพลทางตรงต่อ การคิดเชิงระบบ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ตามลำดับ ทั้งนี้ผู้เชี่ยวชาญเห็นว่ารูปแบบมีความเหมาะสม เป็นไปได้ ถูกต้องและสามารถนำไปใช้ประโยชน์

Article Details

Section
บทความวิจัย