การพัฒนารูปแบบการพัฒนาวิชาชีพแบบร่วมมือโดยเน้นครูเป็นสำคัญเพื่อส่งเสริม สมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูโรงเรียนประถมศึกษา

ผู้แต่ง

  • สุมณฑา จุลชาต

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนารูปแบบการพัฒนาวิชาชีพแบบร่วมมือโดยเน้นครูเป็นสำคัญ 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพแบบร่วมมือโดยเน้นครูเป็นสำคัญ ดำเนินการวิจัยด้วยการวิจัยและพัฒนาและประยุกต์ใช้การวิจัยแบบผสมผสานกลุ่มตัวอย่างได้จากการเลือกแบบเจาะจงโดยเลือกครูประถมศึกษา โรงเรียนชาตศึกษา จังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 6 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 จำนวน 121 คน จำนวน 6 ห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย แผนการพัฒนาตนเองรายบุคคล แผนการพัฒนาวิชาชีพ ปฏิทินการพัฒนาวิชาชีพ แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบแบบประเมิน แบบบันทึก แบบสังเกต แบบสอบถาม และประเด็นการสนทนากลุ่มที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ (%) ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบค่าที (Dependent t-test)การวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) และสถิตแบบไม่อิงค่าพารามิเตอร์ (Non Parametric) โดยการทดสอบอันดับที่มีเครื่องหมายกำกับของวิลคอกซัน (The Wilcoxon Signed Ranks Test) ผลการวิจัย พบว่า
1. รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพแบบร่วมมือ เอเอสทีพีพีซีอี (ASTPPCE Model) ซึ่งประกอบไปด้วย หลักการ วัตถุประสงค์ ปัจจัยสนับสนุน มีกระบวนการพัฒนาวิชาชีพ 7 ระยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 การร่วมมือกันวิเคราะห์ปัญหา ความต้องการจำเป็น ระยะ 2. การร่วมมือกันกำหนดวัตถุประสงค์เพื่อการพัฒนา
ระยะ 3. การร่วมมือกันเลือกวิธีการพัฒนาวิชาชีพ ระยะ 4. การร่วมมือกันวางแผนการปฏิบัติ ระยะ
5. การร่วมมือกันปฏิบัติการพัฒนาวิชาชีพการร่วมกัน ระยะ 6. การร่วมมือกันไตร่ตรองสะท้อนคิดและอภิปราย ระยะ 7. การร่วมมือกันประเมินผลการพัฒนาวิชาชีพ 2. ผลการทดลองพบว่า รูปแบบการพัฒนาวิชาชีพ เอเอสทีพีพีซีอี (ASTPPCE Model) มีความสมเหตุสมผลและมีประสิทธิผล คือ ก่อนและหลังการทดลอง ครูมีสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมการคิดวิเคราะห์แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ผู้เรียนมีความสามารถในการคิดวิเคราะห์แตกต่างกันอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลการศึกษาความคิดเห็นของครูพบว่าโดยภาพรวมครูมีความคิดเห็นต่อรูปแบบการพัฒนาวิชาชีพอยู่ในระดับมาก รวมทั้งนักเรียนประถมศึกษามีความคิดเห็นต่อการจัดการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการคิดวิเคราะห์ของครูอยู่ในระดับมาก

Downloads

เผยแพร่แล้ว

2013-12-19

ฉบับ

บท

บทความวิจัย