การพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการแปลงหลักสูตรสู่การเรียนรู้

Main Article Content

วิชัย วงษ์ใหญ่

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการพัฒนาครูด้านการแปลงหลักสูตรสู่ การเรียนรู้สำหรับครูระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างเป็นครูและผู้เรียนในโรงเรียนระดับ ประถมศึกษาในจังหวัดสุพรรณบุรี ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2554 จำนวน 90 คน แบ่งเป็นครู 23 คน และผู้เรียน 67 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบหลายขั้นตอน ดำเนินการพัฒนารูปแบบ 4 ขั้นตอน ได้แก่ 1) การศึกษาข้อมูลพื้นฐาน 2) การยกร่างรูปแบบ การตรวจสอบคุณภาพเบื้องต้น และการทดลองใช้ นำร่อง 3) การทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่าง และ 4) การประเมินประสิทธิผลของรูปแบบ เครื่องมือที่ใช้ ในการวิจัยประกอบด้วย แบบทดสอบวัดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแปลงหลักสูตรสู่การเรียนรู้ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.86 แบบประเมินความสามารถในการแปลงหลักสูตรสู่การเรียนรู้ มีค่าความ เชื่อมั่นเท่ากับ 0.96 และแบบวัดความสุขในการเรียนรู้ของผู้เรียน มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.85 รูปแบบการพัฒนาครูด้านการแปลงหลักสูตรสู่การเรียนรู้ มี 6 องค์ประกอบ ได้แก่ 1) หลักการ ของรูปแบบ 2) จุดมุ่งหมายของรูปแบบ 3) สาระของรูปแบบ 4) ขั้นตอนและกิจกรรมของรูปแบบ ซึ่งมี 4 ขั้นตอน คือ ก) การศึกษาสาระสำคัญ (Study) ข) การปฏิบัติการ (Action) ค) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ประสบการณ์ (Sharing) และ ง) การถอดบทเรียน (After Action Review) 5) สื่อที่ใช้ในรูปแบบ และ 6) การวัดและประเมินผลของรูปแบบ ผลการทดลองใช้รูปแบบการพัฒนาครูด้านการแปลงหลักสูตรสู่การเรียนรู้ พบว่า ครูที่อยู่ในกลุ่ม ทดลองมีค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการแปลงหลักสูตรสู่การเรียนรู้ สูงกว่าครูที่อยู่ในกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 นอกจากนี้ครูที่อยู่ในกลุ่มทดลองมี ค่าเฉลี่ยของคะแนนพัฒนาการความสามารถในการแปลงหลักสูตรสู่การเรียนรู้สูงกว่าครูที่อยู่ในกลุ่ม ควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผู้เรียนที่ได้เรียนกับครูที่อยู่ในกลุ่มทดลอง มีค่าเฉลี่ย ของคะแนนพัฒนาการด้านการเรียนรู้อย่างมีความสุขสูงกว่าผู้เรียนที่ได้เรียนกับครูที่อยู่ในกลุ่มควบคุม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งแสดงว่ารูปแบบการพัฒนาครูด้านการแปลงหลักสูตรสู่การ เรียนรู้ที่ผู้วิจัยพัฒนาขึ้นเป็นรูปแบบมีประสิทธิผล

Article Details

Section
บทความวิจัย