ถอดบทเรียนจากโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิตพอเพียง ปี 2550-2553

Main Article Content

นรินทร์ สังข์รักษา
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ
ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม
จรีวรรณ จันพลา

Abstract

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อถอดบทเรียนการดำเนินการโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรมนำ ชีวิตพอเพียง ปี 2550-2553 ของนิสิตนักศึกษาในสถาบันอุดมศึกษา การวิจัยแบบผสมผสานวิธี การสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างจากประชาชน 6 ภูมิภาค จำนวน 360 คน โดยการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และการสัมภาษณ์ระดับลึก และการสนทนากลุ่มจากประชาชนโดยคัดเลือก จาก 12 ชุมชน 6 ภูมิภาค ชุมชนละ 10 คน รวม 120 คน โดยการเลือกแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ศึกษาได้แก่ แบบวิเคราะห์ เอกสาร แบบสอบถาม การสัมภาษณ์ระดับลึก และการสนทนากลุ่ม สถิติที่ใช้คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที และการทดสอบความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลที่เกิดจากการเรียนรู้ในการฝึกงานในชุมชนที่ศึกษา ประกอบด้วยการเรียนรู้จากความรู้ ชุมชนที่หลากหลายในชีวิตและอาชีพ บรรทัดฐานของชุมชน แนวทางการดำเนินชีวิตการมองคุณค่า ของหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง ระบบเครือญาติ ภูมิปัญญา การปรับใช้ในการเสริมสร้างนิสัยและ การปรับตัวจากแบบอย่างที่ดีๆ การพัฒนาตนเองในการใช้ชีวิต ปลูกจิตสำนึกการเป็นผู้นำ การทำงานเป็นระบบ และผลที่เกิดขึ้นคือ พึ่งตนเองได้ มีโลกทัศน์กว้างขวางขึ้น เกิดจิตสำนึกเพื่อส่วนรวม และ ร่วมสร้างสังคมให้อยู่เย็นเป็นสุข 2) บทเรียนที่ได้จากการฝึกงานของนิสิต นักศึกษาในโครงการค่ายเรียนรู้คุณธรรม นำชีวิต พอเพียง ได้แก่ การเรียนรู้จากการลงมือ ปฏิบัติจริง ได้เรียนรู้วัฒนธรรมความเป็นอยู่/อาชีพ เศรษฐกิจ พอเพียงต้องอยู่ในวิถีของตนเอง ปฏิบัติอย่างต่อเนื่อง ใช้ห้องเรียนชุมชนเป็นแหล่งศึกษา ควรอนุรักษ์ ภูมิปัญญา เช่นสมุนไพร ผ้าไหม วัฒนธรรมชุมชน ไม่ทิ้งถิ่นฐานถิ่นเกิด แต่กลับมาพัฒนาชุมชนตนเอง ตั้งใจเรียนใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ เคารพผู้ใหญ่/ผู้มีประสบการณ์ ปลูกฝังคุณธรรมตั้งแต่เล็ก สร้างจิต อาสา ยอมรับความคิดเห็นที่แตกต่างซึ่งกันและกัน 3) ทุกชุมชนที่ศึกษามีการนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการพัฒนาเพื่อการดำรงชีวิต เป็น หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ด้วยการลดรายจ่าย เพิ่มรายได้และการออม ปัจจัยแห่งความสำเร็จ คือ ผู้นำ และสมาชิกมีส่วนร่วม ระบบเครือญาติและจิตสำนึก การเรียนรู้มี 3 รูปแบบ คือ 1) การเรียนรู้จาก ภายใน ได้แก่ จากการปฏิบัติจริง และจากการแก้ปัญหา และ 2) การเรียนรู้จากภายนอกได้แก่ สถาบันการศึกษา สื่อ หน่วยงานราชการต่างๆ และ 3) การเรียนรู้แบบบูรณาการทั้งกระบวนการการ เรียนรู้จากภายในและภายนอก

Article Details

Section
บทความวิจัย