รูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสารเพื่อการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • วาสนา จันทรอุไร
  • ทองประวิตร จำปาเงิน
  • สุปรียา ควรเดชะคุปต์

คำสำคัญ:

รูปแบบ / เศรษฐกิจพอเพียง

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) สร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศ และ สื่อสาร เพื่อการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่น และ 2) ประเมินการยอมรับรูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและสื่อสาร เพื่อการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรมส่งเสริมการ ปกครองท้องถิ่น กลุ่มผู้ให้ข้อมูล มี 3 กลุ่ม คือ 1) กลุ่มผู้เชี่ยวชาญเพื่อหาแนวทางการสร้างรูปแบบโดย วิธีการเดลฟาย จำนวน 23 คน 2) กลุ่มผู้บริหารสถานศึกษาและครูเพื่อใช้ในการวิเคราะห์องค์ประกอบ รูปแบบ จำนวน 1,300 คน 3) กลุ่มสถานศึกษา เพื่อประเมินการทดลองใช้รูปแบบ จำนวน 4 โรงเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ได้แก่ แบบสอบถาม และแบบประเมิน สถิติที่ใช้ได้แก่ ร้อยละ มัธยฐาน พิสัยระหว่างควอไทล์ และการวิเคราะห์องค์ประกอบ ผลการวิจัย พบว่า 1) การสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร เพื่อการศึกษาตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงในสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน สังกัดกรมส่งเสริม การปกครองท้องถิ่นด้วยวิธีการเดลฟาย และการวิเคราะห์องค์ประกอบได้ 7 องค์ประกอบ 65 ตัวชี้วัด ประกอบด้วย องค์ประกอบที่ 1 ด้านการสำรวจและพัฒนาระบบสารสนเทศ จำนวน 19 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 2 ด้านการบริหารงบประมาณสารสนเทศ จำนวน 9 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 3 ด้าน วิชาการสารสนเทศ จำนวน 11 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 4 ด้านการจัดการทรัพยากรสารสนเทศ จำนวน 8 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 5 ด้านการบริหารงานและประเมินผล สารสนเทศ จำนวน 8 ตัวชี้วัด องค์ประกอบที่ 6 ด้านความปลอดภัยของระบบสารสนเทศ จำนวน 6 ตัวชี้วัด และองค์ประกอบที่ 7 ด้านการสนับสนุนระบบสารสนเทศ จำนวน 4 ตัวชี้วัด 2) การประเมินการยอมรับรูปแบบโดยการ ทดลองใช้รูปแบบในสถานศึกษา 4 แห่ง ผู้บริหารสถานศึกษาให้การยอมรับรูปแบบ สามารถนำไปปรับ ใช้ในสถานศึกษาได้ โดยต้องปรับตามบริบทของสถานศึกษา

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย