การพัฒนาระบบการจัดการศึกษาทางไกลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระบบทวิภาคี ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

Main Article Content

ศรากร บุญปถัมภ์
สมพงษ์ แตงตาด

Abstract

การพัฒนาระบบการจัดการศึกษาทางไกลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์สำหรับนักศึกษาระบบทวิภาคี  ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา

 Development of Distance Education Management System on Web-Base for Dual Vocational Education Students Under Office the Vocational Education Commission

บทคัดย่อ 

งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์  เพื่อพัฒนาระบบการศึกษาทางไกลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ สำหรับนักศึกษาระบบทวิภาคี  ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  ผู้บริหารระดับสูงของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา  ผู้บริหารระดับผู้อำนวยการสถาบันการอาชีวศึกษาภาค  ผู้บริหารระดับผู้อำนวยการสถานศึกษา  หัวหน้างานอาชีวศึกษาระบบทวิภาคี  และครูผู้สอน  จำนวน  355  คน  ใช้วิธีการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจงและกลุ่มตัวอย่างที่เป็นนักศึกษาที่เรียนในระบบทวิภาคี  จำนวน  405  คน  ใช้วิธีการสุ่มอย่างแบบง่าย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย  ได้แก่  แบบสัมภาษณ์  แบบสอบถาม  ระบบการจัดการศึกษาทางไกลสำหรับนักศึกษาระบบทวิภาคี แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน  แบบวัดความพึงพอใจ  และแบบบันทึกข้อมูล  สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์  คือ  ค่าร้อยละ  ค่าเฉลี่ย  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน  การทดสอบค่าที  (t-test)  และ   การทดสอบประสิทธิภาพของสื่อการเรียนการสอน (E1/E2)

 ผลการศึกษาพบว่า  1)  ระบบการจัดการศึกษาทางไกลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์มีองค์ประกอบ  5  องค์ประกอบ  คือ  1.  การกำหนดปรัชญา  ปณิธาน  วิสัยทัศน์  นโยบาย  และวัตถุประสงค์  2.  การวางแผนการจัดการศึกษาทางไกลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์  3.  การพัฒนาสื่อการเรียนการสอนทางไกลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์  4.  การจัดการเรียนการสอนทางไกลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ และ 5.  การประเมินระบบการศึกษาทางไกลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์  2)  ประสิทธิภาพของสื่อการเรียนบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ในระบบการจัดศึกษาทางไกล  มีประสิทธิภาพ  92.11/92.40 ตามเกณฑ์ที่กำหนด  3)  นักศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01   4)  นักศึกษาในระบบทิวภาคีมีความพึงพอใจต่อระบบการจัดการศึกษาทางไกลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์  สำหรับนักศึกษาระบบทวิภาคีอยู่ในระดับมาก  และ  5)  ครูผู้สอนในระบบทวิภาคีมีความคิดเห็นว่า  ระบบการจัดการศึกษาทางไกลบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ ที่พัฒนาขึ้นมีความเหมาะสมสำหรับนักศึกษาระบบทวิภาคี

ABSTRACT

The purposes of this research were to develop a distance education system on web-base for dual vocational education students of the Office of Vocational Education Commission. The research sample for the field study are purposively selected totaling 355 person from Vocational Colleges under the Office of Vocational Education Commission throughout the country, Secretary Generals of the Vocational Education Commission, Directors of the Institute of Vocational Education, Directors of College, Heads of dual vocational education, and Dual vocational education teachers, and 405 person from Diploma students in dual vocational education system by using simple random sampling. Data collection instruments were interview schedule, questionnaire, distance education system, learning achievement test, a measure of satisfaction and data entry form. Statistics used to analyze the collected data were percentage, mean, standard deviation, t-test and Developmental Testing (E1/E2)

Research findings were as follows: 1) The distance education system on web-base for dual vocational education students of the Office of Vocational Education Commission was composed of five elements: the philosophy, vision, policies and objectives, planning distance education on a computer network, teaching materials, teaching on a computer network and evaluation. 2) The value of efficacy of teaching materials on a computer network through distance education system in the actual experiment were 91.70/92.05 against the criterion of 90/90. 3) The post-learning achievement of the students was significantly higher than their pre-learning achievement at the .01 level. 4) The students were satisfied with the developed distance education system on web-base for dual vocational education students at the high level. 5) In teachers’ opinions, the development of distance education system on web-base for dual vocational education students was appropriate.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ศรากร บุญปถัมภ์

Chiangrai Vocational College