การพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาครู ที่ส่งเสริมทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย (The Development Of Curriculum To Enhance Teacher’s Professional Experience To Increase Communication skills for Preschool Children)

Main Article Content

สุมน ไวยบุญญา (Sumon Waiboonya)
สุเทพ อ่วมเจริญ (Sutep Uamchareon)

Abstract

บทคัดย่อ


                การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์  1) เพื่อพัฒนาหลักสูตรเสริมสมรรถนะการจัดประสบการณ์      การเรียนรู้ของนักศึกษาครูที่ส่งเสริมทักษะการสื่อสารสำหรับเด็กปฐมวัย และ 2) เพื่อหาประสิทธิผลของหลักสูตรฯ กลุ่มตัวอย่าง คือ นักศึกษาชั้นปีที่ 5 สาขาการศึกษาปฐมวัย  คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนดุสิต จำนวน 6 คน  เครื่องมือการวิจัย ได้แก่  แบบสอบถาม  แบบสังเกต      การสอน  แบบทดสอบ  และแบบประเมินความพึงพอใจ  สถิติที่ใช้ ได้แก่  ค่าคะแนนเฉลี่ยร้อยละ ()  ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)  ค่าความความเหมาะสมของหลักสูตร (CVR) และการวิเคราะห์เนื้อหา (Content  Analysis) ผลการวิจัยพบว่า 1) หลักสูตรฯ มีค่าความเหมาะตามเกณฑ์มากที่สุด 1.00 (CVR > .99, N = 5)  2) การศึกษาประสิทธิผลของหลักสูตรฯ พบว่า 2.1) นักศึกษามีความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับหลักสูตรอย่างมีระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 (= 28.00 S.D. = 0.89) 2.2) มีความสามารถด้านการจัดประสบการณ์การเรียนรู้  2.3) แบ่งเป็นด้านการเขียนแผนฯ อยู่ในระดับสูงมาก (= 2.93, S.D. = 0.73) 2.4) ด้านการสอน นักศึกษาทั้ง 6 คนมีความสามารถอยู่ในระดับสูงมาก (= 4.83, S.D. = 0.11-)= 5.00, S.D. = .00) การศึกษาความพึงพอใจของนักศึกษา พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด (= 4.59, S.D. = 0.54)  2.4)ทักษะในการสื่อสารของเด็กปฐมวัย พบว่า มีพัฒนาการทางด้านทักษะการสื่อสารดีขึ้น 2.5) เด็กปฐมวัยมีความพึงพอใจต่อการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ของนักศึกษาครูอยู่ในระดับมากที่สุด 


Abstract


                  The purposes of this research were to: 1) develop the supplementary curriculum learning experience competencies of students teacher to enhance communication skills for preschool children, and 2) evaluate the effectiveness of the supplementary curriculum. The samples comprised 6 fifth year students teacher early childhood education, faculty of education at Suan Dusit Rajabhat University. Research instruments consisted of the supplementary curriculum, a handbook for the curriculum, questionnaire, teaching observation form, test and satisfaction rating form. The data were analyzed by mean, standard deviation, CVR Z-test and content analysis. The results were as follows: 1) The supplementary curriculum had CVR at 1.00 CVR > .99, After in plementary the curriculum and the supplementary curriculum was validaled for the expert before implementation. 2) The effectiveness of the supplementary curriculum indicated that 2.1) the students teacher had develop knowledge and cognition about the supplementary curriculum at a .05 significance level, 2.2) the students teacher had ability in learning experience about writing learning experience plans at a high level, 2.3) the students teacher had satisfaction toward the supplementary curriculum learning experience competencies at the highest level, 2.4) the communication skills of preschool children after learning from the students teacher had a high development about communication skills, and 2.5) the preschool children had satisfaction toward learning experience management form the students teacher at the highest level.

Article Details

Section
บทความวิจัย