ความหมายในชีวิต สุขภาวะทางจิต ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้า ของผู้สูงอายุ ในจังหวัดนครปฐม (Meaning in Life, Psychological Well – Being, Anxieties and Depression of the Elderly in Nakhon-Pathom Province)

Main Article Content

สมทรัพย์ สุขอนันต์ (Somsap Sookanan)
กมล โพธิเย็น (Kamol Phoyen)
กันยารัตน์ สอาดเย็น (Kanyarat Sa-artyen)

Abstract

บทคัดย่อ


       การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ทราบถึงความหมายในชีวิต สุขภาวะทางจิต ความวิตกกังวล และภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม 2) เปรียบเทียบความหมาย ในชีวิตของผู้สูงอายุ จำแนกตามตัวแปรส่วนบุคคลคือ เพศ กลุ่มอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพที่เกี่ยวกับอาชีพในปัจจุบัน ความพอเพียงของรายได้ สถานภาพการสมรส ลักษณะการพักอาศัย ภาวะโรคประจำตัว การให้เวลาและให้ความสนใจของคนในครอบครัว และความเหมาะสมของที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ 3) เปรียบเทียบสุขภาวะทางจิตของผู้สูงอายุ จำแนกตามตัวแปรส่วนบุคล คือ เพศ กลุ่มอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพที่เกี่ยวกับอาชีพในปัจจุบัน ความพอเพียงของรายได้ สถานภาพการสมรส ลักษณะการพักอาศัย ภาวะโรคประจำตัว การให้เวลาและให้ความสนใจของคนในครอบครัว และความเหมาะสมของที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ 4) เปรียบเทียบความวิตกกังวลของผู้สูงอายุ จำแนกตามตัวแปรส่วนบุคคล คือ เพศ กลุ่มอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพที่เกี่ยวกับอาชีพในปัจจุบัน ความพอเพียงของรายได้ สถานภาพการสมรส ลักษณะการพักอาศัย ภาวะโรคประจำตัว การให้เวลาและให้ความสนใจของคนในครอบครัว และความเหมาะสมของที่พักอาศัยของผู้สูงอายุ และ 5) หาความสัมพันธ์ระหว่างภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุ จำแนกตามตัวแปรส่วนบุคคล คือ เพศ ลักษณะการพักอาศัย ความพอเพียงของรายได้ ภาวะโรคประจำตัว และการให้เวลาและให้ความสนใจของคนในครอบครัว                


                        กลุ่มตัวอย่างเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปีขึ้นไป มีภูมิลำเนาอาศัยอยู่ในจังหวัดนครปฐม เก็บข้อมูลจากทั้ง 7 อำเภอของจังหวัดนครปฐม โดยสุ่มจำนวนตำบลของแต่ละอำเภอมาตามสัดส่วนของจำนวนตัวอย่างที่ต้องเก็บจาก อำเภอเหล่านั้น ได้จำนวนตำบลมา 13 ตำบล และสุ่มตัวอย่างอย่างง่าย (Simple Random Sampling) ได้กลุ่มตัวอย่าง 1,099 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ สถิติแจกแจงความถี่ (Frequency) ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การวิเคราะห์เปรียบเทียบความแตกต่างของ 2 กลุ่ม  ด้วย t-test การวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว (One Way ANOVA) และสถิติไคสแควร์ (Chi-square)     


 


        ผลการวิจัย พบว่า


           1.   ผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐมมีความหมายในชีวิตอยู่ในระดับดี มีสุขภาวะทางจิต อยู่ในระดับดีมีความวิตกกังวลอยู่ในระดับน้อยและมีภาวะซึมเศร้าอยู่ในระดับ น้อย


           2.   ผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐมที่มี เพศ กลุ่มอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพที่เกี่ยวกับอาชีพในปัจจุบัน ความพอเพียงของรายได้ สถานภาพการสมรส การให้เวลาและให้ความสนใจของคนในครอบครัว และความเหมาะสมของที่พักอาศัยต่างกัน มีความหมายในชีวิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ส่วนผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐมที่มีลักษณะการพักอาศัยและภาวะโรคประจำตัว ต่างกัน มีความหมายในชีวิตไม่แตกต่างกัน


           3. ผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐมที่มีเพศ กลุ่มอายุ ระดับการศึกษาสูงสุด สถานภาพที่เกี่ยวกับอาชีพในปัจจุบัน ความพอเพียงของรายได้ การให้เวลาและให้ความสนใจของคนในครอบครัว และความเหมาะสมของที่พักอาศัยต่างกัน มีสุขภาวะทางจิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 สำหรับผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐมที่มีสถานภาพการสมรสและลักษณะการพักอาศัย ต่างกัน มีสุขภาวะทางจิตแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ส่วนผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐมที่มีภาวะโรคประจำตัวต่างกัน มีสุขภาวะทางจิตไม่แตกต่างกัน


            4. ผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐมที่มีระดับการศึกษาสูงสุด ความพอเพียงของรายได้ ลักษณะการพักอาศัย ภาวะโรคประจำตัว การให้เวลาและให้ความสนใจของคนในครอบครัว และความเหมาะสมของที่พักอาศัยต่างกัน มีความวิตกกังวลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ในขณะที่ผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐมที่มีสถานภาพการสมรสต่างกัน มีความวิตกกังวลแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05ส่วนผู้สูงอายุในจังหวัดนครปฐม ที่มีเพศ กลุ่มอายุ และสถานภาพที่เกี่ยวกับอาชีพในปัจจุบันต่างกัน มีความวิตกกังวลไม่แตกต่างกัน


       5. ภาวะซึมเศร้าของผู้สูงอายุมีความสัมพันธ์กับความพอเพียงของรายได้ ลักษณะการพักอาศัย และภาวะสุขภาพของผู้สูงอายุ ส่วนเพศ และการให้เวลาและให้ความสนใจของคนในครอบครัวไม่มีความสัมพันธ์กับภาวะซึม เศร้าของผู้สูงอายุ


 Abstract


       The purposes of this study aimed : 1) to investigate Meaning in life, Psychological Well-Being, Anxiety and Depression of the elderly in Nakhon Pathom province, 2) to compare Meaning in Life of the elderly when classified by sexes, age groups, educational levels, work status, income levels, marital status, living companions, health status, attention from family members and levels of safety home environment, 3) to compare Psychological Well-Being of the elderly when classified by sexes, age groups, educational levels, work status, income levels, marital status, living companions, health status, attention from family members and levels of safety home environment, 4) to compare Anxiety of the elderly when classified by sexes, age groups, educational levels, work status, income levels, marital status, living companions, health status, attention from family members and levels of safety home environment, and 5) to deternine the association between Depression of the elderly and sexes, living companions, income levels, health status, and attention from family members.


                        The samples comprised 1099 elderly in Nakhon Pathom province, aged 60 years and older. They were randomly drawn from 13 Tambon, in 7 Amphur in Nakhon Pathom province. The research instruments were questionnaires. Data were analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, t-test, One-Way ANOVA and Chi- square.


                        The results showed that :


                        1.   Mean scores of Meaning in life and Psychological Well-Bing were in a high level, whereas mean scores of Anxiety and Depression were in a minimal level.


                        2.   Meaning in life of the elderly as classified by sexes, age groups, educational levels, income levels, marital status, attention from family members, and levels of safety home environment were significantly different at .01 level. However, when this variable was classified by living companions and health status, there were no significantly different.


                        3.   Psychological Well-Being of the elderly as classified by sexes, age groups, educational levels, work status, income levels, attention from family members, and levels of safety home environment were significantly different at .01 level. When this variable was classified by marital status and living companions, they were significantly different at .05 level. Psychological Well-Being of the elderly as classified by health status were not significantly different.


                        4.   Anxiety of the elderly when classified by educational levels, income levels, living companions, health status, attention from family members, and levels of safety home environment were significantly different at .01 level. When Anxiety of the elderly was classified by marital status, they were significantly different at .05 level. However, when the variable was classified by sexes, age levels, and work status, there were no significantly different.


                5.            Depression of the elderly was associated with income status, living companions and health status of the elderly. However, this variable was not associated with sexes and attention from family members of the elderly.

Article Details

Section
บทความวิจัย