การวิเคราะห์คุณค่าและการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาการทำมีด : กรณีศึกษาหมู่บ้านอรัญญิก อำเภอนครหลวง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (The Analysis of Values and Existence of Knifesmithing Local Wisdom : A Case of Aranyik Knife Village at Nakhon Luang in Pha Nakhon Sri Ayutthaya Province)

Main Article Content

ธัชพร ฤกษ์ฉาย (Touchaporn Rock-chai)
ลุยง วีระนาวิน (Luyong Weeranawin)

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ  มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อวิเคราะห์คุณค่าของภูมิปัญญาการทำมีดอรัญญิก 2) เพื่อศึกษาการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาการทำมีดอรัญญิก 3) เพื่อนำเสนอแนวทางการอนุรักษ์ภูมิปัญญาการทำมีดอรัญญิก ผู้วิจัยใช้วิธีการศึกษาเอกสารที่เกี่ยวข้องเก็บข้อมูลภาคสนาม การสังเกต และสัมภาษณ์เจาะลึก


                  ผลการศึกษาพบว่า 1. ภูมิปัญญาการทำมีดอรัญญิกมีคุณค่าที่สำคัญใน 2 ด้านหลักดังนี้ ประการแรกมีคุณค่าต่อการพัฒนาบุคคล และประการที่สองมีคุณค่าต่อการพัฒนาสังคม 2. ปัจจัยที่มีผลต่อการดำรงอยู่ของภูมิปัญญาการทำมีดอรัญญิกมีดังนี้ การเรียนรู้และการถ่ายทอดความรู้ภูมิปัญญาการทำมีดอรัญญิกภายในชุมชน มีการปรับตัวทางสังคมทั้งรูปแบบการถ่ายทอดและการพัฒนางานมีด ชุมชนมีการประสานงานร่วมมือมีการเผยแพร่และสร้างเครือข่ายเรียนรู้ทางภูมิปัญญา 3. แนวทางการสืบทอดภูมิปัญญาการทำมีด ควรมีการสืบทอดโดยจัดตั้งคณะกรรมการกลุ่มประธานบริหารภูมิปัญญาการทำมีดอรัญญิกในรูปแบบองค์กร รวบรวมและนำองค์ความรู้ภูมิปัญญามีดอรัญญิกมาบูรณาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในสถานศึกษาจัดทำเป็นหลักสูตรท้องถิ่นให้กับเยาวชน เพื่อสร้างความตระหนักการอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นในชุมชน สร้างเครือข่ายกับกลุ่มหน่วยงานอื่นๆ


_________________________________


*  นักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาพัฒนศึกษา  คณะศึกษาศาสตร์  มหาวิทยาลัยศิลปากร


**อาจารย์ที่ปรึกษาหลัก ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


***อาจารย์ที่ปรึกษาร่วม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร


แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนและเผยแพร่ประชาสัมพันธ์ภูมิปัญญาผ่านช่องทางสื่อต่างๆ


 


คำสำคัญ: การวิเคราะห์คุณค่า/ การดำรงอยู่/ ภูมิปัญญา/ มีดอรัญญิก


 


Abstract


                This research using qualitative medthod aims to 1) analyze the values of the local wisdom of Aranyik knife-making 2) study the existence of local wisdom of Aranyik knife-making 3) propose the guidelines for conservation of the local wisdom of Aranyik knife-making. The researcher collected data through the review of relevant document, field data collection, observations and in-depth interviews.


                  The Research Findings :   1. The local wisdom of Aranyik knife-making values in two main aspects. The first aspect is the value in personnel development. And the second aspect is the value in social development. 2.There are many factors influencing the existence of local wisdom in making Aranyik knife. Knowledge of the local wisdom in making Aranyik knife are learned and transmitted among people in the local community. There is social adjustment both in terms of knowledge transmission and development of knife-making. People in the community collaborate, disseminate the local wisdom and build the networks of local wisdom learning. 3. The guidelines for conservation of the local wisdom of Aranyik knife-making. The local wisdom of Aranyik knife-making as an organization, collected and integrated into learning and teaching activities in educational institutes as well as establish the local curriculum for youth and building networks.


 


Keywords :  The analysis of values/ Existence/ Local wisdom/ Aranyik knife


               

Article Details

Section
บทความวิจัย