มาตรฐานความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาข้าราชการครูในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 (Knowledge Standards of Professional School Administrators Affecting Educational Personal Development in Educational Institution under the Jurisdiction of Secondary Educational Service Area Office 9)

ผู้แต่ง

  • พรกมล ช้างเผือก (Pornkamon Changpuek)
  • พิชญาภา ยืนยาว (Pitchayapa Yuenyaw)

คำสำคัญ:

Keywords, Professional Standard /Educational Personnel Development/Secondary Education

บทคัดย่อ

 

บทคัดย่อ

    การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ระดับมาตรฐานความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา2) เพื่อศึกษาระดับการพัฒนาข้าราชการครูในสถานศึกษา 3) เพื่อศึกษามาตรฐานความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาข้าราชการครูในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ ครูผู้สอนในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 9 จำนวน 346 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งชั้นตามสัดส่วนกระจายตามอำเภอ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามที่สร้างขึ้นโดยผู้วิจัยวิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าเฉลี่ย ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณแบบขั้นตอน

                      ผลการวิจัยพบว่า 1) มาตรฐานความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา กิจการและกิจกรรมนักเรียนคุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณ หลักสูตรการสอน การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ การบริหารสถานศึกษา การพัฒนาวิชาชีพ และความเป็นผู้นำทางวิชาการ 2) การพัฒนาข้าราชการครูในสถานศึกษา โดยภาพรวมและรายด้านอยู่ในระดับมาก เรียงลำดับจากมากไปหาน้อย ด้านฝึกอบรม การประชุมปฏิบัติการ การสัมมนา การนิเทศการสอน การศึกษาดูงานและการศึกษาต่อและการศึกษาทางไกลตามลำดับ  3) มาตรฐานความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษาที่ส่งผลต่อการพัฒนาข้าราชการครูในสถานศึกษา ประกอบด้วย ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา  หลักสูตรการสอนการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ กิจการและกิจกรรมนักเรียน  คุณธรรมจริยธรรมและจรรยาบรรณ  ส่งผลต่อการพัฒนาข้าราชการครูในสถานศึกษา โดยร่วมกันทำนายประสิทธิผลของสถานศึกษาได้ร้อยละ 74.0 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05

คำสำคัญ: มาตรฐานความรู้ของผู้บริหารสถานศึกษา/ การพัฒนาข้าราชการครู/ มัธยมศึกษา

* นักศึกษาปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

** อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร. กลุ่มพื้นฐานการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

 

 

 

Abstract

This research aimed to study: 1) level of Knowledge standards of professional school administrators; 2) educational personal development; and 3) Knowledge standards of professional school administrators affecting educational personal development in educational institution. The research samples, derived by proportional stratified random sampling, distributed by districts were 346 teachers of educational institutions under the Jurisdiction of Secondary Educational Service Area Office 9. The research instrument was a questionnaire constructed by the researcher. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, and stepwise multiple regression analysis. 

The findings of this research were as follows: 1) Overall and in specific aspects, the professional standards of professional school administrators was at the high level. The factors were ranked from the highest to the lowest as follow; quality assurance in education, student affairs,  moral and ethics enhancement, curriculum evaluation assessment, school management,  professional development  and instructional leadership. 2)  Overall and in specific aspects, the educational personnel development was at the high level. The factors were ranked from the highest to the lowest as follow; training of personnel, workshop, seminar, teaching supervision, field study, and further study and distance learning. 3) The professional standards of professional school administrators in the aspects of quality assurance in education, Curriculum evaluation assessment, student affairs, moral and ethics enhancement, together predicted the personal development in institutions at the percentage of 74.0  with statistical significance at .05.

 

 

 

Author Biography

พรกมล ช้างเผือก (Pornkamon Changpuek)

นักศึกษาปริญญาครุศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม

เผยแพร่แล้ว

2017-06-17

ฉบับ

บท

บทความวิจัย