การพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา (Development of an Instructional Model to Enhance Creative Problem Solving Ability and Scientific Innovation for Primary School Students)

ผู้แต่ง

  • พีชญาณ์ พานะกิจ (Pheechaya Phanakij) Doctoral Student
  • มาเรียม นิลพันธุ์ (Maream Nillapun)

คำสำคัญ:

-

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้เป็นการพัฒนารูปแบบการสอนเพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์และนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อพัฒนาและหาประสิทธิภาพของรูปแบบการสอน 2) เพื่อประเมินประสิทธิผลของการใช้รูปแบบฯ  และ  3) เพื่อขยายผลรูปแบบการสอน

                ผลการวิจัย พบว่า (1) ชื่อรูปแบบคือ “PEACE Model” มีองค์ประกอบสำคัญ 5 องค์ประกอบ คือ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล  เงื่อนไขสำคัญในการนำรูปแบบการสอนไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จ กระบวนการจัดการเรียนรู้มี 5 ขั้นตอน คือ ขั้นที่ 1 นำเสนอปัญหา (Presenting Problem) ขั้นที่ 2 สร้างความสนใจร่วมกันระหว่างครูและนักเรียน (Engageting) ขั้นที่ 3 วิเคราะห์ (Analysing) ขั้นที่ 4 จำแนก (Classifying) และขั้นที่ 5 ประเมินผล (Evaluating) ประสิทธิภาพของรูปแบบคือ 81.12/80.12  (2) หลังเรียนนักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์สูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) นักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานสูง ปานกลาง ต่ำ มีพัฒนาการความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก (4) นักเรียนที่มีความสามารถพื้นฐานสูง ปานกลาง ต่ำมีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมาก และ (5) ผลการขยายผล พบว่า หลังการจัดการเรียนการสอน โดยใช้รูปแบการสอนนักเรียนกลุ่มขยายผลมีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์อยู่ในระดับมาก และมีนวัตกรรมทางวิทยาศาสตร์ อยู่ในระดับมาก

Author Biography

พีชญาณ์ พานะกิจ (Pheechaya Phanakij), Doctoral Student

Teacher Watratrangsan School Rama 2 Road Muang District Samutsakorn Povince,Thailand

เผยแพร่แล้ว

2017-01-31

ฉบับ

บท

บทความวิจัย