การประเมินโครงการการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพสมรรถนะพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ภายใต้ระบบพี่เลี้ยงด้วยรูปแบบการประเมิน CIPP IEST (An Evaluation of the Training Program on Development of Potential Competency in New Registered Nurse Under Mentoring System by CIPP IEST Model)

ผู้แต่ง

  • ทีปทัศน์ ชินตาปัญญากุล (Teepatad Chintapanyakun) Mahidol University
  • สุรวีร์ เพียรเพชรเลิศ (Surawee Peanpedlerd)

คำสำคัญ:

Evaluating Program, Potential Competency, Mentoring System

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการฝึกอบรมพัฒนาศักยภาพสมรรถนะพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาใหม่ภายใต้ระบบพี่เลี้ยง โดยใช้รูปแบบ CIPPIEST  ประเมิน 8 ด้านคือ ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล  ด้านความยั่งยืน และด้านการถ่ายโยงความรู้ กลุ่มเป้าหมายคือ พยาบาลจบใหม่ จำนวน 110 คน พยาบาลพี่เลี้ยง จำนวน 32 คน และผู้บริหารฝ่ายการพยาบาล จำนวน 5 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้มี 3 ฉบับ คือ (1) แบบสอบถามสำหรับผู้บริหารและพยาบาลพี่เลี้ยง (2) แบบสอบถามสำหรับพยาบาลจบใหม่ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.98 และ 0.89 ตามลำดับ และ (3) แบบสัมภาษณ์สำหรับผู้บริหาร วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า ด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิต ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล ด้านความยั่งยืนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ส่วนด้านการถ่ายโยงความรู้มีความเหมาะสมระดับปานกลาง

In this thesis, the researcher evaluated the training program of development of competency in new registered nurse mentoring system by CIPPIEST Model. Evaluation was carried out for the following eight aspects: context, input, process, product, impact, effectiveness, sustainability, and transportability. The target population consisted of 110 new registered nurses, 32 mentors and 5 administrators. The instrumentsof the research consisted of three sets: (1) a questionnaire for administrators and mentors with the reliability level of 0.98 (2) a questionnaire for new registered nurses with the reliability level of 0.89 and (3) an interview form used in interviewing administrators. Analyzed data by percentage, mean, standard deviation, and content analysis.

Findings were as follows: In evaluating the context, input, process, product, impact, effectiveness, and sustainability were appropriate at the high level. Excepted the transportability was appropriate at the moderate level.

เผยแพร่แล้ว

2017-06-18

ฉบับ

บท

บทความวิจัย