กระบวนการบริหารจัดการการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Tourism) กรณีศึกษาพื้นที่เกาะหมาก จังหวัดตราด (Management Process for Low Carbon Tourism : A Case Study of Koh-Mak in Trad Province)

Main Article Content

นิคมศม อักษรประดิษฐ์ (Nicomsom Aksornpradit)
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ (Thirasak Unaromlert)

Abstract

บทคัดย่อ


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ 1. เพื่อศึกษาการบริหารจัดการเพื่อการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ (Low Carbon Tourism) ของเกาะหมาก จังหวัดตราด 2. ศึกษาปัจจัยและเงื่อนไขที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการนำแนวคิดการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำของเกาะหมา ผ่านการสัมภาษณ์เชิงลึก 3. เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวที่มีต่อการท่องเที่ยวแบบคาร์บอนต่ำ ใช้กลุ่มตัวอย่างเป็นนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวน 400 คน ใช้สถิติตารางแจกแจงความถี่ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย () และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation: SD) และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลวิจัยพบว่า 1. ด้านการบริหารจัดการ 1.1) ในการดำเนินการจัดทำนโยบายต้องทำการการศึกษาข้อมูลจากบริบทของพื้นที่ก่อนการจัดทำนโยบาย ตั้งแต่เริ่มต้นกิจกรรมจนกระทั่งเสร็จสิ้น 2) คงไว้ซึ่งประวัติศาสตร์ของพื้นที่  3) ต้องมีการจัดการใช้พลังงานที่ดี 2. ปัจจัยเงื่อนไขที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ประกอบด้วย 2.1) จิตสำนึกและทัศนคติที่ดี และผู้มีส่วนได้ส่วนเสียจากการท่องเที่ยว ผ่านการให้ความรู้ชี้ให้เห็นถึงประโยชน์อย่างชัดเจน 2.2) การถ่ายทอดองค์ความรู้ ต้องเข้าถึงทุกพื้นที่ ได้แก่ ภาครัฐ สถานประกอบการ และภาคประชาชน 3. ความพึงพอใจของนักท่องเที่ยวแบ่งออกเป็น 2 ด้าน ได้แก่ 1) ความพึงพอใจด้านสถานที่พักแรมเรียง พบว่า โดยรวมอยู่ในระดับมาก คือ สถานที่พักแรมมีความสะอาดถูกสุขลักษณะ และสุดท้ายเป็นด้านการจัดทำเอกสารประชาสัมพันธ์ 2) ด้านการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม พบว่า การมีส่วนร่วมช่วยลดการปลดปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์อยู่ระดับมาและพร้อมที่จะทำตามหลักการท่องเที่ยวที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม


Abstract


The objectives of this research were 1) to study about low carbon tourism in  Koh Mak, Trat 2. To study factors and conditions that leads to a successful in low-carbon tourism concept by using In-Depth Interview. 3. To study tourists satisfaction in a concept of low-carbon tourism in Koh Mak, Trat by using 400 tourists as a sample. The result were displayed in a statistical grid frequency percentage (Percentage), average () and standard deviation (Standard Deviation: SD) and content analysis. The results of this research were as follows: 1) in managing processes 1.1) must study a social context and activities from start to finish 2) preserve the history of the area, and 3) must have a good energy management. 2. Factors that affected to the low-carbon tourism concept were 1) a positive attitude and all stakeholders must be educated by pointing out a benefit of the concept clearly 2.2) Give a knowledge to all stakeholder in all area by collaboration between Thai’s government sector, enterprises and public sector 3. Tourist’s satisfaction in low-carbon tourism concept was divided into two areas: 1) tourist’s satisfactions in all facilities were at a high level. In cleanliness and hygienic and the last was document advocates about low-carbon tourism concept, 2) a tourist environment friendly was in a high level in overall. When considered about tourist’s participation to reduces a carbon dioxide emission and ready to follow a principle of environmentally friendly tourism.

Article Details

Section
บทความวิจัย