รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา (Causal Model of Human Resource Management Competency in School under The Jurisdiction of Primary Educational Service Area Office)

Main Article Content

ปวริศา บุญรอด (Pawarisa Boonrod)
พิชญาภา ยืนยาว (Pitchayapa Yuenyaw)

Abstract

รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษา


สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา


Causal Model of Human  Resource Management Competency  in School


 under The Jurisdiction of Primary Educational Service Area Office


การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ประกอบของสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษา 2) ศึกษารูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษา และ 3) ยืนยันรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะ         การบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษา กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ สถานศึกษาของรัฐ จำนวน 378 แห่ง ผู้ให้ข้อมูลประกอบด้วย ผู้อำนวยการสถานศึกษา ครูฝ่ายบุคลากร และตัวแทนคณะกรรมการสถานศึกษา โดยใช้ผู้ให้ข้อมูลเป็นหน่วยวิเคราะห์ รวมผู้ให้ข้อมูลทั้งสิ้น 1,134 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ การวิเคราะห์เส้นทางและการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า


 1. องค์ประกอบของสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) ประสิทธิผลของการบริหารทรัพยากรบุคคล 2) ภาวะผู้นำของผู้บริหาร 3) การบริหารทรัพยากรบุคคลเชิงกลยุทธ์ และ 4) การจัดการคุณภาพ


2. รูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคล ในสถานศึกษา เป็นรูปแบบที่มีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์


3. ผลการยืนยันรูปแบบความสัมพันธ์เชิงสาเหตุของสมรรถนะการบริหารทรัพยากรบุคคลในสถานศึกษาโดยผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบมีความเหมาะสม มีความถูกต้องและมีประโยชน์ 


 The purposes of this research were to: 1) study  factors  of human resource management competency in school , 2) study causal model of human  resource management  competency in school , and 3) conferm  causal model of human resource management competency in school. The research sample were 378 schools under the jurisdiction of primary educational service area office, the instruments for collecting the data were school directors, human resource teachers and basic educational institution committees, total 1,134 persons. The data was analyzed by using frequency,percentage, mean, standard deviation, exploratory factor analysis, path analysis and content analysis. The results were as follows:


  1. Factors of human resource management competency in school consisted of: 1) the effectiveness of human resource management, 2) administrators’ leadership, 3) the strategy human resource management, and 4)  the quality management.

  2. The causal model of human resource management competency in school  was valid and consistent with the empirical data.

Conferm that the causal model of human resources management competency in school data analysis was based on the consensus of experts with the model were found appropriate, accurate and useful.

Article Details

Section
บทความวิจัย
Author Biography

ปวริศา บุญรอด (Pawarisa Boonrod)

ผู้อำนวยการโรงเรียนวัดทัพหลวง (หลวงพ่อเกิดอุปถัมภ์)