การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ (Potential Development for Community Enterpreneurs based on the Concept of Creative Economy)

Main Article Content

ศุภชัย เหมือนโพธิ์ (Suppachai Murnpho)
ธีรศักดิ์ อุ่นอารมย์เลิศ (Thirasak Unaromlert)

Abstract

การพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์


Potential Development for Community Enterpreneurs


based on the Concept of Creative Economy


บทคัดย่อ


     การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาองค์ความรู้ที่เกี่ยวกับการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการ ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 2) ศึกษาศักยภาพและปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการประกอบกิจการวิสาหกิจชุมชน 3) จัดทำรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ 4) ประเมินผลและถอดบทเรียนรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์


     ผลการวิจัย พบว่า กลุ่มวิสาหกิจชุมชนมีการจัดตั้งกลุ่ม โดยการรวมตัวกันผลิตสินค้าแปรรูป มีแนวคิด คือ การนำวัตถุดิบภายในชุมชนที่เหลือจากการจำหน่ายมาแปรรูปเพื่อเพิ่มมูลค่า สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชน แต่ยังขาดความรู้ในการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ผู้วิจัยจึงได้กำหนดรูปแบบการพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ โดยใช้รูปแบบ SCPD Integrated Model และมีการจัดอบรมหัวข้อเพื่อพัฒนาศักยภาพผู้ประกอบการชุมชน ตามแนวคิดเศรษฐกิจสร้างสรรค์ เพื่อพัฒนาผลิตภัณฑ์ ตามแนวคิดผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ ซึ่งกลุ่มวิสากิจชุมชนได้ทำการพัฒนาผลิตภัณฑ์สร้างสรรค์ (ต้นแบบ) 1) กลุ่มวิสาหกิจชุมชน กลุ่มอาชีพผลไม้สด และผลผลิตเกษตรแปรรูป จังหวัดนครปฐม พัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ เค้กเพลินบานาน่า (เค้กกล้วยหอมทองผสมข้าวไรซ์เบอรี่ สอดไส้คัสตาร์ดรสกล้วย) ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีแนวโน้มในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.68 2) กลุ่มวิสาหกิจชุมชนสนามจันทร์ จังหวัดนครปฐม พัฒนาผลิตภัณฑ์ คือ ข้าวเกรียบเห็ด 3 อย่าง ผลการวิจัยพบว่า ผู้บริโภคมีแนวโน้มในการตัดสินใจซื้อผลิตภัณฑ์ ระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 3.95


Abstract


     The purposes of this research were 1) to study the knowledge of potential development for community entrepreneurs based on the concept of creative economy, 2) to study the potentials and factors leading to successful community enterprises, 3) to create the model of potential development for community entrepreneurs and 4) to estimate and do the lessen learnt towards the models of potential development for community entrepreneurs in accordance with the concept of creative economy.


     The research findings show that the majority of community enterprises produce processed agricultural products. Their concept is to increase the value of leftover agricultural products by preservation process. However, they do not have enough knowledge and understanding on the product development based on the concept of creative economy. The researcher utilizes the model of potential development for community entrepreneurs entitled SCPD Model which can be applicable in different context of development. The trainings on potential development for community entrepreneurs were organized to indicate two participating community entrepreneur groups located in Nakhonprathom Province.


     The first group produces seasonal fresh and processed fruits products; the group can produce “Cake Plearn Banana” (processed banana cake with rice berry and banana flavored custard) - regarding the market survey on 400 respondents, average 3.68/4 of all respondents tend to purchase the product. The scores considered high. The second group is Sanamchan Community Enterprise Group creates three-flavored mushroom crisp rice that can get 3.95/4 of market survey from 400 respondents, which considered high too. 


 

Article Details

Section
บทความวิจัย