รูปแบบการส่งเสริมการดำเนินการเพื่อพัฒนางานวิจัยของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

ผู้แต่ง

  • ประเสริฐ อินทร์รักษ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. หัวหน้าภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นพดล เจนอักษร ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่พันตรี ดร. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สำเริง อ่อนสัมพันธุ์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ว่าที่พันตรี ดร. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วรกาญจน์ สุขสดเขียว อาจารย์ ดร. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มัทนา วังถนอมศักดิ์ อาจารย์ ดร. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • สายสุดา เตียเจริญ อาจารย์ ดร. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • นุชนรา รัตนศิระประภา อาจารย์ ดร. ภาควิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

รูปแบบการส่งเสริมการดำเนินการเพื่อพัฒนางานวิจัย, สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา, The Enhancing Performance Model for Research Development, Educational Service Area Office

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ วัตถุประสงค์เพื่อทราบ 1) องค์ประกอบการส่งเสริมการดำเนินการเพื่อพัฒนางานวิจัยของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา และ 2) นำเสนอรูปแบบการส่งเสริมการดำเนินการเพื่อพัฒนางานวิจัยของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา เครื่องมือรวบรวมข้อมูล คือ แบบวิเคราะห์เนื้อหา แบบสัมภาษณ์แบบกึ่งโครงสร้าง และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่าง คือ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา 4 ภูมิภาค ซึ่งได้มาโดยการสุ่มแบบแบ่งประเภท จำแนกเป็นสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา 40 เขต และสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา 20 เขต รวมทั้งสิ้น 60 เขต ผู้ให้ข้อมูลเขตพื้นที่ละ 7 คน ประกอบด้วย รองผู้อำนวยการเขตพื้นที่การศึกษาฝ่ายบุคคล หัวหน้างานนิเทศ ศึกษานิเทศก์ผู้รับผิดชอบงานวิจัย ผู้อำนวยการโรงเรียน รองผู้อำนวยการที่รับผิดชอบงานวิจัย ครู และประธานคณะกรรมการสถานศึกษา รวม 420 คน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติวิเคราะห์ตัวประกอบประเภทการวิเคราะห์องค์ประกอบเชิงสำรวจ และสถิติวิเคราะห์ความสัมพันธ์เชิงสาเหตุ ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบการส่งเสริมการดำเนินการเพื่อพัฒนางานวิจัยของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา มี 6 องค์ประกอบ คือ (1) วัฒนธรรมองค์กร (2) การส่งเสริมการดำเนินการ (3) การพัฒนาบุคลากร (4) การกำกับ ติดตามและประเมินผล (5) องค์กรเครือข่าย (6) แรงจูงใจ และ 2) รูปแบบการส่งเสริมการดำเนินการเพื่อพัฒนางานวิจัยของสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาเป็นรูปแบบพหุองค์ประกอบที่มีความสัมพันธ์เชิงเหตุผล ซึ่งสอดคล้องกับทฤษฎีหลักการ และแนวคิดตามกรอบการวิจัย

คำสำคัญ: รูปแบบการส่งเสริมการดำเนินการเพื่อพัฒนางานวิจัย/สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา

 

Abstract

This research used both quantitative and qualitative methods. The research purposes were to : 1) to identify the components of the Enhancing Performance for Research Development of Educational Service Area Office and 2) to propose the Enhancing Performance Model for Research Development of Educational Service Area Office. The instruments employed for data collection were a content analysis form, a semi-structured interview and a questionnaire. The samples were 60 Educational Service Area Offices selected stratified random sampling technique. The total of respondents were 420 who were 7 representatives from each Educational Service Area Office, namely an assistance, a supervision chief, a supervisor, a school director, a school assistance, a school teacher and a school committee chairman. The statistics for analyzing the data were frequency, percentage, mean, standard deviation, exploratory factor analysis and path analysis. The findings revealed that: 1) the components of the Enhancing Performance for Research Development of Educational Service Area Office consisted of six components which were: (1) organizational culture (2) enhancing performance (3) personnel development (4) monitoring and assessment (5) networks and (6) motivation. And 2) the Enhancing Performance Model for Research Development of Educational Service Area Office was the model of casual multi-variables relation which accorded with the theory, principles and concepts of the research framework.

Keyword: The Enhancing Performance Model for Research Development/Educational Service Area Office

 

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย