การพัฒนาพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเพื่อส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์: พิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม

ผู้แต่ง

  • ปราโมทย์ เหลาลาภะ อาจารย์ประจำ สาขาวิชาพืชศาสตร์ คณะทรัพยากรธรรมชาติ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลอีสาน วิทยาเขตสกลนคร
  • กาญจนา เส็งผล นักวิชาการ สำนักงานผู้บังคับบัญชาแพทย์อาวุโส โรงพยาบาลพระมงกุฏเกล้า

คำสำคัญ:

พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น, การศึกษาเชิงสร้างสรรค์, Local Museum, Creative Education

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและพัฒนากิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ของพิพิธภัณฑ์วัดพระปฐมเจดีย์ราชวรมหาวิหาร จังหวัดนครปฐม โดยใช้ระเบียบวิธีวิจัยแบบวิจัยและพัฒนา เก็บข้อมูลด้วยวิธีผสมผสานเครื่องมือการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์แบบมีโครงสร้าง และแบบสอบถาม กลุ่มตัวอย่างคือ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ จำนวน 5 คน ประชาชนในชุมชน จำนวน 25 คน นักศึกษาระดับปริญญาตรีชั้นปีที่ 1 สาขาวิชาการศึกษาตลอดชีวิต คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 27 คน และ นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนสาธิตมหาวิทยาลัยศิลปากร จำนวน 70 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า

1. การวิเคราะห์ SWOT พบว่า จุดแข็ง คือ พิพิธภัณฑ์มีงบประมาณสนับสนุนและมีโบราณวัตถุที่หลากหลาย จุดอ่อน คือ เจ้าหน้าที่พิพิธภัณฑ์ขาดความรู้ในการจัดกิจกรรมส่งเสริมการเรียนรู้เชิงสร้างสรรค์ โอกาส คือ นโยบายส่งเสริมการศึกษาเชิงสร้างสรรค์ของรัฐบาล อุปสรรค คือพิพิธภัณฑ์ยังไม่เป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวาง

2. ผลการจัดกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ พบว่า 1) ด้านกระบวนการ สามารถส่งเสริมให้นักเรียนเกิดความคิดสร้างสรรค์ ความสนุก การเรียนรู้ร่วมกัน ความมีน้ำใจ 2) ด้านผลผลิต ผลงานของนักเรียนแสดงให้เห็นถึงความคิดสร้างสรรค์ และ 3) ด้านผลกระทบและด้านความยั่งยืน นักเรียนเกิดความตระหนักในคุณค่าของพิพิธภัณฑ์ และครูสามารถนำไปพัฒนาเป็นหลักสูตรการเรียนรู้หรือใช้เป็นสื่อการสอน

3. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรมอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนนักศึกษามีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น/การศึกษาเชิงสร้างสรรค์

 

Abstract

This research aimed to study and develop creative activities of Wat Phra Pathom Chedi Museum. It emplayed research and development methodology. The data were collected by mixed method. The research instruments were structured interviews and questionnaires. The samples were 5 museum officers, 25 people in communities, 27 first year undergraduates majoring in Lifelong Education, Faculty of Education, Silpakorn University and 70 third grade students of the Demonstration School of Silpakorn University. The data were analyzed by percentage, mean, standard deviation and content analysis. The results showed that :

1. According to the SWOT analysis of study, Strength was the museum, that got financial support and displayed a variety of antiques. Weakness was the museum officers lacking knowledge to develop activities for enhancing creative education. Opportunity was the government policy of enhancing creative education. Threat was that the museum was not widely known.

2. For the creative activities, it was found that: 1) Process: the students were encoruaged to have creative thinking, fun, cooperative learning and hospitality; 2) Productivity: the students’ products reflected their creative thinking and 3) Impact and sustainability: the students realized the museum’s value and teachers could develop a course or used as a learning media instruction to students.

3. Students’ satisfaction of the activities was found at the highest level and undergraduates’ satisfaction was high.

Keywords: Local Museum/Creative Education

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย