การพัฒนาหลักสูตรระดับชั้นเรียน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา

Main Article Content

วัฒนา ตรงเที่ยง
สุเทพ อ่วมเจริญ

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนาหลักสูตรระดับชั้นเรียน เพื่อสร้างเสริมสุขภาพของนักเรียนระดับชั้นประถมศึกษา โดยใช้กระบวนการวิจัยและพัฒนา ประชากรเป็นโรงเรียน จำนวน 198 โรงเรียน กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียน 97 คน และครู 3 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวัดความรู้ แบบสังเกตและแบบทดสอบ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าเฉลี่ย (X) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) การทดสอบจากที แบบอิสระ และวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัย พบว่า

1. การวิเคราะห์ความต้องการจำเป็น ควรเพิ่มการออกกำลังกาย ทักษะทางสังคม การพักผ่อน ความสำคัญของวัคซีนในการป้องกันโรค การดูแลรักษาดวงตาและโรคและปัญหาที่เกิดขึ้นในช่องปาก

2. หน่วยการเรียน จำนวน 10 หน่วย ได้รับการออกแบบและพัฒนา โดยใช้แนวคิดการออกแบบแบบย้อนกลับ

3. การทดลองใช้หลักสูตร พบว่า ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและสมรรถภาพทางกายก่อนและหลังการใช้หลักสูตรแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.05 มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ทักษะปฏิบัติ และทักษะทางสังคม อยู่ในระดับดี

4. การประเมินหลักสูตร มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 และผลการวิพากษ์จากผู้ทรงคุณวุฒิ เห็นว่า หลักสูตรมีความเหมาะสม

คำสำคัญ: การพัฒนาหลักสูตรระดับชั้นเรียน/การสร้างเสริมสุขภาพ

 

Abstract

This research aimed to develop a classroom curriculum in order to promote good health among elementary students following. research and development procedures. The population of the study consisted of 198 schools. The samples consisted of 97 students and 3 teachers. The research instruments included an academic achievement test. On observation form and tests. The data were analyzed in terms of mean (X), Standard deviation (S.D.), t-test independent and content analysis. The research results were as follows:

1. Accarding to the needs assessment, exercises, social skills, rest, importance of vaccine for protecting the body from diseases, eye care and oral diseases should be added.

2. Ten lessons, which were designed and developed: were based on Backward Design.

3. The implementation of the curriculum revealed that the students’ academic achievement and physical fitness before and after the implementation were significantly different at the .05 level. Additionally the desirable characteristics and practical and social skills were at good level.

4. The evaluation of the curriculum was found efficient at 80/80 and the experts, comments reverted that the curriculum was appropriate.

Keyword: Classroom Curriculum/Health Promotion

Article Details

Section
บทความวิจัย