การพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้กระบวนการสร้างความรู้ เพื่อการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์

Main Article Content

วรากร หงษ์โต
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนารูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์โดยใช้กระบวนการสร้างความรู้เพื่อการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอนของครูผู้สอนวิชาคอมพิวเตอร์ ผลการวิจัยพบว่า

1. รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์ฯ ประกอบด้วย 4 องค์ประกอบ คือ 1) ฐานทรัพยากรบนชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์ 2) กลุ่มเรียนรู้ออนไลน์ 3) เครื่องมือที่ใช้แลกเปลี่ยนเรียนรู้บนชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์ฯและ 4) เทคโนโลยีที่สนับสนุนการทำงานร่วมกันบนชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์ฯ

2. ขั้นตอนการเรียนรู้ของรูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์ฯ มี 8 ขั้น คือ 1) ขั้นการวางแผนและกำหนดทิศทางการเรียนรู้ 2) ขั้นนำเข้าสู่ประเด็นการเข้าร่วมชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์3) ขั้นค้นปัญหาหรือกำหนดภารกิจของงาน 4) ขั้นการจัดเก็บรวบรวมข้อมูลและนำผลจากข้อมูลที่ค้นพบไปใช้ 5) ขั้นวางแผนดำเนินงานการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอน 6) ขั้นดำเนินงานการสร้างนวัตกรรมการเรียนการสอน 7) ขั้นนำเสนอผลงานนวัตกรรมการเรียนการสอน 8)ขั้นประเมินผล

3. กลุ่มตัวอย่างมีพฤติกรรมการสร้างความรู้สูงกว่าก่อนทำกิจรรมอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และกลุ่มตัวอย่างมีระดับคุณภาพของการพัฒนานวัตกรรมการเรียนการสอน โดยมีระดับคุณภาพอยู่ในระดับสูง

คำสำคัญ: รูปแบบชุมชนการเรียนรู้ออนไลน์/กระบวนการสร้างความรู้/นวัตกรรมการเรียนการสอน

 

Abstract

This research aimed to develop an online learning community model using knowledge creation process to create instructional innovation of computer teachers. The research results indicated that:

1. The online learning community model consisted of 4 components: 1) resources for the online learning community; 2) online learning groups; 3) equipment for the online learning community and 4) technology supporting collaboration of online learning community.

2. There were 8 steps in the online learning community model: 1) planning and setting directions of learning; 2) participating online learning community; 3) identifying problems or tasks 4) collecting and utilizing data; 5) planning to create instructional innovation; 6) creating the instructional innovation; 7) presenting the instructional innovation and 8) evaluating.

3. The samples’ scores on behavior of knowledge creation were significantly higher than the scores before implementing the model at the .05 level. The quality of the instructional innovation developed by the samples was at the high level.

Keyword : online learning community model/knowledge creation process/instructional innovation

Article Details

Section
บทความวิจัย