การพัฒนาเครื่องมือประเมินกระบวนการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติสำหรับ หลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น)

ผู้แต่ง

  • พรภิรมย์ หลงทรัพย์ นักศึกษาปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • มาเรียม นิลพันธุ์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

กระบวนการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ, เครื่องมือประเมิน, curriculum Imple mentation, Assessment Tools

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) วิเคราะห์และกำหนดกระบวนการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ 2) พัฒนาเครื่องมือประเมิน 3) ศึกษาสภาพการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ และ 4) ตรวจสอบความเหมาะสมของเครื่องมือประเมิน เครื่องมือวิจัยประกอบด้วย แบบสอบถาม แบบตรวจสอบรายการ และแบบประเมินแบบมาตรประมาณค่า 3 ระดับ การทดลองใช้เครื่องมือประเมินกับโรงเรียนพยาบาลรามาธิบดี โดยกลุ่มตัวอย่างเป็นผู้บริหารหลักสูตร จำนวน 13 คน อาจารย์ผู้สอนและอาจารย์พี่เลี้ยง จำนวน 47 คน และนักศึกษา จำนวน 40 คน วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สัมประสิทธิ์ความแปรปรวน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) องค์ประกอบของกระบวนการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติหลักสูตรการพยาบาลเฉพาะทางสาขาเวชปฏิบัติทั่วไป (การรักษาโรคเบื้องต้น) มี 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบด้านปัจจัยป้อน องค์ประกอบด้านกระบวนการ และองค์ประกอบด้านผลผลิต 2) เครื่องมือประเมินกระบวนการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติมีความเที่ยงตรงเชิงเนื้อหาอยู่ระหว่าง 0.80 – 1.00 และมีความเชื่อมั่นอยู่ระหว่าง 0.64 – 0.96 3) สภาพการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติพบว่า การดำเนินงานในองค์ประกอบ ด้านปัจจัยป้อนอยู่ในระดับดี ด้านกระบวนการอยู่ในระดับพอใช้ และด้านผลผลิตอยู่ในระดับดี และ 4) ผู้บริหารและผู้สอนที่เป็นกรณีศึกษาเห็นว่าเครื่องมือประเมินมีความเหมาะสมในการนำไปปฏิบัติระดับปานกลาง

คำสำคัญ : กระบวนการนำหลักสูตรสู่การปฏิบัติ/เครื่องมือประเมิน

 

Abstract

The purposes of the research were to: 1) analyze and determine the curriculum implementation process based on reliable perspectives and principles; 2) develop assessment tools; 3) study the state of the implementation and 4) examine the appropriateness of assessment tools. The research instruments were a questionnaire, a checklist form, and a 3-rating scale evaluation form. The assessment tools were implemented at the School of Nursing, Faculty of Medicine, Ramathibodi Hospital, Mahidol University. The samples were 13 curriculum executives, 47 instructors, and 40 students. Data were analyzed by percentage, mean, standard deviation, coefficient of variation (CV.) and content analysis. The results of the study were as follows: 1) components of the curriculum implementation process consisted of 3 factors namely: input components, process components and output components. 2) The content validity of the assessment tools of the curriculum implementation process ranged between 0.80–1.00 and the reliabilities were between 0.64–0.96 3) The state of the curriculum implementation in the nursing institutes revealed that the operations on the input components were at a good level. The output components were at a good level. 4) The stakeholders from the case study and the assessment tools were at a fair level of appropriateness.

Keyword : curriculum Imple mentation/Assessment Tools

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย