การพัฒนารูปแบบการโค้ช เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์พยาบาล ที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข

ผู้แต่ง

  • ธัญพร ชื่นกลิ่น นักศึกษาปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาหลักสูตรและการสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • วัชรา เล่าเรียนดี อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

รูปแบบการโค้ช, ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ, Coaching Model, Critical thinking skills

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ คือ 1) พัฒนารูปแบบการโค้ช เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์พยาบาลที่ส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาล ในสังกัดสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข และ 2) ตรวจสอบประสิทธิภาพเชิงประจักษ์ของรูปแบบการโค้ชที่พัฒนาขึ้น ดำเนินการวิจัยด้วยวิธีการวิจัยและพัฒนา กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ อาจารย์พยาบาล 4 คน นักศึกษาพยาบาล 43 คน และผู้บริหาร 3 คน จากสถาบันพระบรมราชชนก กระทรวงสาธารณสุข จังหวัดเพชรบุรี เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบทดสอบความรู้และแบบประเมินสมรรถนะการโค้ชและการจัดการเรียนรู้ แบบบันทึกและแบบสังเกตพฤติกรรมการโค้ชและการจัดการเรียนรู้ แบบสอบถามและประเด็นการสนทนากลุ่มเกี่ยวกับความคิดเห็นที่มีต่อรูปแบบการโค้ช ที่ผ่านการตรวจสอบคุณภาพของเครื่องมือ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าร้อยละ การทดสอบค่าที และการวิเคราะห์เนื้อหา

ผลการวิจัย พบว่า

1. รูปแบบการโค้ชที่ได้รับการพัฒนาถูกเรียกว่า รูปแบบการโค้ชพีพีซีอี ซึ่งประกอบด้วยองค์ประกอบ 3 ส่วน คือ 1) หลักการและวัตถุประสงค์ เพื่อพัฒนาสมรรถนะการจัดการเรียนรู้โดยเน้นการสร้างความรู้ด้วยตนเอง 2) กระบวนการ 4 ระยะ คือ การเตรียมการ การวางแผน การปฏิบัติการโค้ช และการประเมินผลการโค้ช และ 3) เงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ ได้แก่ ระบบสนับสนุน ทักษะการโค้ช และการติดตามดูแล

2. การทดลองใช้รูปแบบการโค้ชพีพีซีอี พบว่า สมรรถนะการโค้ชและสมรรถนะการจัดการเรียนรู้ของอาจารย์พยาบาลที่ส่งเสริมการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษา ก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักศึกษาพยาบาลก่อนและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 อาจารย์พยาบาลและผู้บริหารมีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด และนักศึกษาพยาบาลมีความคิดเห็นว่าการจัดการเรียนรู้เหมาะสมในระดับมาก

คำสำคัญ : รูปแบบการโค้ช/ทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ

 

Abstract

The purposes of this research were to: 1) develop a coaching model to enhance nursing instructors instructional competency that promotes critical thinking skills of nursing students in Praboromarachanok Institute, Ministry of Public Health and 2) examine empirical effectiveness of the model. The research and development procedure was employed. The samples consisted of 4 nursing instructors, 43 nursing students and 3 administrators from Prachomklao college of Nursing, Petchaburee Province. The research instruments were an achievement test, a competency evaluation form, a record form, an observation form, a questionnaire and focus group items. The data were analyzed by mean, standard deviation, percentage, dependent t-test and content analysis.

The research results were:

1. The developed coaching model was called called “The PPCE Coaching Model” which consisted of 3 components: 1) principles and objectives, 2) processes and 3) model implementation conditions.

2. The PPCE Coaching Model experimentation revealed that PPCE Coaching Model was empirically effective. Nursing instructors’ coaching competency and instructional competency that enhanced critical thinking skills of nursing students before and after the implementation of the model were significantly different at the .05 level. The nursing students’ critical thinking skills before and after the implementation of the model were significantly different at the .05 level. The nursing instructors and the administrators were satisfied with the PPCE Coaching Model at the highest level. Nursing students agreed that the instruction that promoted critical thinking skills was appropriate at a high level.

Keyword : Coaching Model/Critical thinking skills

 

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย