การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เอกลักษณ์และภูมิปัญญาไทย ของนักศึกษา ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

ผู้แต่ง

  • บุญเมฆ จาดพันธ์อินทร์ นักศึกษาปริญญาศึกษาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาการสอนสังคมศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • อรพิณ ศิริสัมพันธ์ อาจารย์ที่ปรึกษา ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาหลักสูตรและวิธีสอน คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

เอกลักษณ์และภูมิปัญญาไทย, การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้, Thai Identity and wisdom, Inquing-Based Learning Approach

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

ผู้วิจัยได้พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เอกลักษณ์และภูมิปัญญาไทย ของนักศึกษาระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 ด้วยการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง เอกลักษณ์และภูมิปัญญาไทย ของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 2) เพื่อศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง เอกลักษณ์ และภูมิปัญญาไทย ของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้คือ นักศึกษาระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 จำนวน 50 คน ได้มาด้วยการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยประกอบด้วย 1) แผนการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน และ 3) แบบสอบถามความคิดเห็นของนักศึกษาที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ ผลการวิจัยพบว่า 1) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน เรื่อง เอกลักษณ์และภูมิปัญญาไทย ของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 ก่อนและหลังการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ มีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 โดยผลคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน และ 2) ความคิดเห็นของนักศึกษาประกาศนียบัตรวิชาชีพชั้นสูงปีที่ 1 ที่มีต่อการจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้ เรื่อง เอกลักษณ์และ ภูมิปัญญาไทย โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก

คำสำคัญ : เอกลักษณ์และภูมิปัญญาไทย/การจัดการเรียนรู้แบบสืบเสาะหาความรู้

 

Abstract

The researcher developed learning achievements on Thai identity and wisdom for the first year high vocational students by Inquiry-based Learning Approach. The objectives of this research were to: 1) compare the learning achievements on the inquire-based learning approach of the first year students before and after the implementation of Inquiry-based Learning Approach; 2) study students’ opinion towards the Inquiry-based Learning Approach. The sample was 50 first year high vocational students selected by simple random sampling. The research instruments were: 1) lesson plans based on the Inquiry-based Learning Approach; 2) a pre-test and a post-test and 3) questionnaires on the Inquiry-based Learning Approach. The results were: 1) the learning achievements on Thai identity and wisdom of the first year high vocational students before and after the implementation of the Inquiry-based Learning Approach were significantly different at the level of .05 and the scores on post-test were higher than the pre-test and 2) Most of the first year high vocational students’ opinion towards the Inquiry-based Learning Approach on Thai identity and wisdom was highly positive.

Keyword : Thai Identity and wisdom/Inquing-Based Learning Approach

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย