การแก้ปัญหาความขัดแย้งของตัวละครในบทละครพูดร้อยแก้วพระราชนิพนธ์ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว: การวิเคราะห์ด้วยอริยสัจสี่

ผู้แต่ง

  • ชลธิชา หอมฟุ้ง นักศึกษาปริญญาอักษรศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร
  • กัญญรัตน์ เวชชศาสตร์ อาจารย์ที่ปรึกษา รองศาสตราจารย์ ภาควิชาภาษาไทย คณะอักษรศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

คำสำคัญ:

อริยสัจสี่, ความขัดแย้ง, บทละครพูดร้อยแก้ว, พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว, The Four Nobel Truths, Conflict, Prose Plays, King Rama VI

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อวิเคราะห์ความขัดแย้งของตัวละคร วิเคราะห์การแก้ปัญหาของตัวละครโดยใช้อริยสัจสี่ และวิเคราะห์แนวคิดของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่สะท้อนให้เห็นได้จากความขัดแย้งและการแก้ปัญหาของตัวละคร โดยศึกษาข้อมูลจากบทละครพูดร้อยแก้วพระราชนิพนธ์พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัวที่ทรงจิตนาการสร้างสรรค์ด้วยพระองค์เอง จำนวน 20 เรื่อง ผลการวิจัยพบว่า 1) ความขัดแย้งที่ปรากฏในบทละครพูดร้อยแก้วมี 3 ประเภท ได้แก่ ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับมนุษย์ ความขัดแย้งระหว่างมนุษย์กับสังคม และความขัดแย้งภายในใจของตัวละครเอง 2) มีวิธีการแก้ปัญหา 5 วิธี ได้แก่ วิธีแรกคือการสร้างเหตุการณ์ แบ่งเป็นสร้างเหตุการณ์เพื่อหลอกลวง สร้างเหตุการณ์เพื่อทำให้ตกใจ สร้างเหตุการณ์เพื่อให้เข้าใจผิด และสร้างเหตุการณ์เพื่อเอาตัวรอด วิธีที่ 2 คือ การเสียสละ วิธีที่ 3 คือ การรับฟัง ความคิดเห็นของคนหมู่มาก วิธีที่ 4 คือ การใช้อารมณ์ แบ่งเป็น การใช้อารมณ์โกรธ และการใช้อารมณ์รัก และวิธีที่ 5 คือ การใช้สติ ส่วนการวิเคราะห์การแก้ปัญหาของตัวละครโดยใช้อริยสัจสี่ 3) มีการแก้ปัญหา 2 ลักษณะ คือ แก้ปัญหาได้สอดคล้องกับอริยสัจสี่ และแก้ปัญหาไม่สอดคล้องกับอริยสัจสี่ 4) แนวคิดที่ปรากฏจากความขัดแย้งและการแก้ปัญหาของตัวละคร ได้แก่ แนวคิดเรื่องคุณธรรม จริยธรรม แนวคิดเรื่องบทบาทหน้าที่ แนวคิดเกี่ยวกับการแก้ปัญหา และแนวคิดเรื่องประชาธิปไตย

คำสำคัญ: อริยสัจสี่/ความขัดแย้ง/บทละครพูดร้อยแก้ว/พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว

 

Abstract

This research aimed to analyze the characters’ conflict, their employment of the notion of the Four Noble Truths in their problem solving and the King Rama VI’ s concepts reflected from the presentation through the characters’ conflicts and their means of problem solving. Twenty prose plays solely created with vivid imagination of King Rama VI were studied the findings revealed that there were three types of characters’ conflicts, five methods of the problem solving, and two means of the notion of the Four Noble Truths. For full detail, the three conflicts were found between man against man, man against society, and man against himself. Besides, the five methods of the problem solving were found to be the situations created in order to: lure, petrify, cause misunderstanding, and defend oneself; the deed of sacrificing; the public hearing; the emotions expressed anger and passion; and the wisdom. And the characters’ problem solving was found to be both positively and negatively agreeable with the notion of the Four Noble Truths. Moreover, the King Rama VI’ s concepts reflected from the characters’ conflicts and problem solving were revealed in terms of virtue, ethics, roles and responsibility, ways of problem solving, and democracy.

Keyword: The Four Nobel Truths/Conflict/Prose Plays/King Rama VI

 

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย