อนาคตภาพของขีดความสามารถด้านนวัตกรรมในการจัดการธุรกิจขนาดกลาง ที่ส่งออกเครื่องนุ่งห่มในประเทศไทย

ผู้แต่ง

  • ณัฐนรินทร์ เนียมประดิษฐ์ นักศึกษาปริญญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการ บัณฑิตวิทยาลัย มหาวิทยาลัยคริสเตียน
  • ชูวิทย์ มิตรชอบ อาจารย์ที่ปรึกษา อาจารย์ ดร.ผู้อำนวยการสำนักพัฒนาขีดความสามารถในแการแข่งขันทางเศรษฐกิจ สำนักคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและ สังคมแห่งชาติ

คำสำคัญ:

การจัดการ, อนาคตภาพ, เครื่องนุ่งห่ม, การส่งออก, ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน, Management, Scenario, Garment, Export, ASEAN Economic Community (AEC)

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

งานวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาอนาคตภาพทางบวกทางลบ และอนาคตภาพที่น่าจะเป็นไปได้มากที่สุดด้านนวัตกรรมในการจัดการธุรกิจส่งออกเครื่องนุ่งห่มของกลุ่มผู้ประกอบการขนาดกลาง หลังจากการรวมตัวกันเป็นประชาคมเศรษฐกิจปี 2558 การเก็บข้อมูลเป็นการใช้เทคนิคเดลฟาย และวิเคราะห์ผลกระทบไขว้ผลการศึกษาจากการมองภาพอนาคตพบภาพอนาคตทางบวก 10 ภาพ ที่สำคัญคือวัตถุดิบในการผลิตจะมีราคาถูกลงช่วยดึงดูดการลงทุนโดยตรงจากต่างประเทศเข้ามาในอาเซียนและประเทศไทย พบภาพอนาคตทางลบ 8 ภาพ ที่สำคัญคือมีการลงทุนที่สูงขึ้นทั้งในด้านเครื่องจักรอุปกรณ์ และการลงทุนพัฒนาบุคลากร ภาพอนาคตที่เป็นไปได้มากที่สุดด้านนวัตกรรมในการจัดการ 39 ภาพ ที่สำคัญคือคือเน้นการเป็นผู้นำหรือการพัฒนาแฟชั่น การกำหนดตำแหน่งผลิตภัณฑ์ให้ไทยเป็นศูนย์กลางแห่งการออกแบบสินค้าแฟชั่นใช้เทคโนโลยีที่ทันสมัยเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมลดการใช้พลังงานและการนำระบบที่มีประสิทธิภาพมาบริหารจัดการ

คำสำคัญ: การจัดการ/อนาคตภาพ/เครื่องนุ่งห่ม/การส่งออก/ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน

 

Abstract

The objective of this research was to study the optimistic-realistic scenario, pessimistic-realistic scenario and most-probable scenario in the medium-sized garment export business after the establishment of the ASEAN Economic Community: AEC in 2015. This research applied the methodology by The Delphi technique data and the Cross-Impact Analysis. The results of the optimistic-realistic scenario found 10 scenarios. The important scenario was that the raw materials would be so cheaper that they would attract more attract more foreigners to invest in ASEAN countries and in Thailand. The pessimistic-realistic scenario found 8 scenarios. The important scenario was that the costs of in equipment and human resource development would increase. The most-probable scenario in innovation management found 39 scenarios. The important scenario was the that emphasis should be on fashion leadership or development, positioning Thailand as a center of fashion designs; using modern and environment-friendly technology, and saving energy and implementing an effective management.

Keyword: Management/Scenario/Garment/Export/ASEAN Economic Community (AEC)

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย