การประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

Main Article Content

มัทนา วังถนอมศักดิ์

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร ผู้วิจัยรวบรวมข้อมูลจากเอกสาร การสัมภาษณ์และการสอบถาม โดยอาศัยรูปแบบ CIPP ในการประเมินและวิเคราะห์ข้อมูลด้วยค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบน มาตรฐาน และการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1.

1. หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตสาขาวิชาการบริหารการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัย ศิลปากร มีความเหมาะสมด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการ ด้านผลผลิตในภาพรวมอยู่ในระดับมาก 2.

2. ความคิดเห็นและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับหลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิต สาขาวิชาการบริหารการศึกษา ได้แก่ 1) เพิ่มการประชาสัมพันธ์ 2) ปรับหลักสูตรเป็นปริญญาต่อเนื่อง 3) เปิดโอกาสทางการศึกษา 4) สร้างเครือข่ายความร่วมมือ 5) เปิดหลักสูตรระดับดุษฎีบัณฑิตที่หลากหลาย 6) ปรับหลักสูตรให้เข้มแข็ง 7) ให้ความสำคัญกับการเปลี่ยนแปลงของสังคม เทคโนโลยีและสิ่งแวดล้อม 8) ปรับปรุงแหล่งค้นคว้า 9) พัฒนาสิ่งอำนวยความสะดวก

คำสำคัญ : การประเมินหลักสูตร หลักสูตรปรัชญาดุษฎีบัณฑิตการบริหารการศึกษา

 

Abstract

The purpose of this research was to evaluate the Ph.D. Curriculum in Educational Administration, Faculty of Education, Silpakorn University. The researcher collected data from documents, interviews and questionnaires and used CIPP Model. The data was analyzed by frequency, percentage, mean, standard deviation, and content analysis. The research revealed that: the above curriculum context, input, process, and output ware appropriate at high level.

Comments and suggestions regarding the Ph.D. Curriculum in Educational Administration were 1) increase public relations, 2) combine Master and Doctoral Programs, 3) provide educational opportunity to all, 4) establish corporative networks, 5) offer various Doctoral programs, 6) strengthen the curriculum, 7) focus on changes in society, technology and other circumstances, 8) improve learning resources, and 9) improve the conditions of facilities.

Keywords: Curriculum evaluation, Ph.D. Curriculum, Educational Administration

Article Details

Section
บทความวิจัย