การสังเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนามนุษย์ที่สมบูรณ์

ผู้แต่ง

  • ไชยยศ ไพวิทยศิริธรรม ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. ภาควิชาพื้นฐานทางการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยศิลปากร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยนี้เป็นการสังเคราะห์ความรู้เกี่ยวกับองค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้เพื่อความเป็นมนุษย์ที่ สมบูรณ์ ผลการสังเคราะห์พบว่า 1) ผลการสังเคราะห์ปัจจัยนำทางที่เกี่ยวข้องกับการดำเนินการพบว่า “นโยบาย” มาจากพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ และตัวผู้บริหารที่ต้องการพัฒนานักเรียน สำหรับ “กลยุทธ์” ในการดำเนินการนั้นพบว่า ผู้บริหารจะกำหนดกลยุทธ์ในการพัฒนานักเรียน พัฒนาวิชาการ พัฒนา ครู พัฒนาโรงเรียน 2) ผลการสังเคราะห์องค์ประกอบของการจัดการเรียนรู้พบว่า กิจกรรมที่ดำเนินการ ส่วนใหญ่มุ่งเน้นหรือมี “วัตถุประสงค์” เพื่อให้นักเรียนมีความสมบรูณ์ทั้งในด้านจิตพิสัย พุทธิพิสัย และทักษะ พิสัย เมื่อพิจารณาถึงการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ในส่วนของ “หลักสูตร” พบว่ามีการนำไปบูรณาการ เข้ากับรายวิชา บางกิจกรรมจัดอยู่ในรูปของกิจกรรมพัฒนานักเรียน นอกจากนี้พบว่ามีการจัดทำเป็นหลักสูตร ท้องถิ่น ในส่วน “บทบาทนักเรียน” พบว่า นักเรียนมีจิตอาสา ทำกิจกรรมด้วยความวิริยะอุตสาหะ ตั้งตน พร้อมที่จะเรียนรู้ทั้งทางสติปัญญา คุณธรรมจริยธรรม และการประพฤติปฏิบัติ “สื่อการเรียนรู้” พบว่า มีการใช้ทั้งสื่อการเรียนรู้ที่มีชีวิต และไม่มีชีวิตสำหรับ “การประเมินผล” พบว่า มีการนำหลักการประเมินตาม สภาพจริงมาใช้ โดยกระบวนการประเมินนั้น มีทั้งแบบเป็นทางการและแบบไม่เป็นทางการ และ 3) ผลการ สังเคราะห์ปัจจัยเสริมในการพัฒนานักเรียนให้เป็นมนุษย์ที่สมบูรณ์นั้น พบว่าใช้หลักบริหารจัดการแบบ 4M ประกอบด้วย การจัดการ บุคลากร งบประมาณ และทรัพยากร ใน “การบริหารจัดการ” เน้นการบริหารจัดการ แบบมีส่วนร่วม เน้นธรรมาภิบาล มีการประยุกต์ใช้วงจรปฏิบัติการ (PDCA) เข้ามาใช้

 

Abstract

This research synthesises knowledge of the learning components for developing humanized educare. The results of synthesis were as follows: 1) The synthesis of operational factors revealed that the policy was created partly from the National Educational Act and also from administrators that desired to develop learners. The synthesis of strategies found that administrators had strategie objectives to develop learners, knowledge, teachers, and school. 2) The synthesis of learning components revealed that most learning activities aimed to encourage learners to achieve in affective, cognitive and psychomotor domains. Considerations of experiential learning revealed that there was integration into the lessons. Some activities were learner development activities. In addition, there was a creation of local curriculum. The roles of learners, included voluntearing and doing the activities enthusiastically. They were ready to learn all intellectual, moral, and behavioral matters. Learning media, included both living and non-living media. Authentic evaluation was used and the evaluation process was both formal and informal. And 3) synthesis of the additional factors for developing humanized educare revealed that the administrative principle of 4M, including management, man, money, and materials, was applied. The administration involved cooperation, good governance, and PDCA.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย