การวิจัยประเมินผลการจัดการศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

ผู้แต่ง

  • พิชิต ฤทธิ์จรูญ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. สาขาวิชาวิจัยและประเมินการศึกษา วิทยาลัยการฝึกหัดครู มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
  • ชูชาติ พ่วงสมจิตร์ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร. แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • เก็จกนก เอื้อวงศ์ อาจารย์ ดร. แขนงวิชาบริหารการศึกษา สาขาวิชาศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
  • นงเยาว์ อุทุมพร อาจารย์ ดร. ภาควิชาการวัดและประเมินผลการศึกษา คณะครุศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏธนบุรี

คำสำคัญ:

การวิจัยประเมินผล, การจัดการศึกษา, องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น, Evaluation research, Educational management, Local administration organization (LAO)

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วัตถุประสงค์ของการวิจัยเพื่อประเมินคุณภาพ ความเสมอภาค สภาพการเปลี่ยนแปลงของการจัดการ ศึกษาขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น (อปท.) เพื่อวิเคราะห์ปัจจัยที่ส่งเสริมและปัจจัยที่เป็นอุปสรรคต่อการ จัดการศึกษาของ อปท. และเพื่อจัดทำข้อเสนอแนะเชิงนโยบายต่อการจัดการศึกษาของ อปท. โดยวิธีวิจัย เชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ เก็บรวบรวมข้อมูลด้วยแบบสอบถาม การสนทนากลุ่ม และการสัมภาษณ์ผู้บริหาร อปท. บุคลากรทางการศึกษา ผู้บริหารสถานศึกษา ครูและกรรมการสถานศึกษา

ผลการวิจัย พบว่า (1) ด้านคุณภาพการจัดการศึกษา ผู้เรียนส่วนใหญ่มีคุณภาพตามมาตรฐาน และครู มีเพียงพอและมีความสามารถในการสอน สถานศึกษาจัดการศึกษาตอบสนองความต้องการของท้องถิ่น และ ชุมชนเข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษา (2) ด้านความเสมอภาค อปท.สามารถจัดการศึกษาให้มีความเสมอภาค (3) ด้านการเปลี่ยนแปลงหลังรับการถ่ายโอน มีพัฒนาการด้านวิชาการดีขึ้น ได้งบประมาณและ อัตรากำลัง ครูเพิ่มขึ้น กำหนดนโยบายและจัดทำแผนพัฒนาตามสภาพของท้องถิ่น แต่ อปท.บางแห่งขาดงบประมาณ สนับสนุน และสถานศึกษาบางแห่งมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำลง (4) ปัจจัยที่ส่งเสริม คือผู้บริหาร มีวิสัยทัศน์ อปท. มีความพร้อมเรื่องรายได้ มีครูเพียงพอ ปัจจัยอุปสรรค ผู้บริหารขาดวิสัยทัศน์ บุคลากร ไม่เพียงพอและชุมชนไม่เข้ามามีส่วนร่วมจัดการศึกษา

คำสำคัญ : การวิจัยประเมินผล การจัดการศึกษา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น

 

Abstract

The objectives of this research were to evaluate the quality, equality, and changing conditions of educational management of local administration organization (LAO); to analyze facilitating and hindering factors for educational management of LAO; and to prepare policy recommendations for educational management of LAO. Both quantitative and qualitative research methodologies were employed in this study. The data were collected by questionnaires, focus group discussions, and interviews of LAO executives, education personnel, school administrators, teachers, and school board members.

Research findings were as follows: (1) Regarding the quality of educational management, the majority of learners met the quality standards; the numbers of teachers were sufficient; teachers were competent in their teaching; the schools could provide education that was responsive to the needs of local communities; and the community participated in educational management. (2) Regarding the equality of educational management, LAO was able to create equality of education in educational management. (3) Regarding the changing conditions after the transfer of educational management, the academic quality of the schools was improved in general; more budget was available in general; the schools were allocated more teacher positions; and planning for development and improvement was in line with local conditions; however, some LAOs lacked supporting budget, and academic quality of some schools decreased. (4) The facilitating factors were: the administrators having vision; LAO having sufficient budget and teachers. On the other hand, hindering factors included administrators lacking vision; insufficiency of personnel; and the lack of participation of the community in educational management.

Keywords: Evaluation research, Educational management, Local administration organization (LAO)

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย