การพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิด การเรียนรู้เป็นทีมเพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านการตลาดและพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ สำหรับพนักงานบริษัทประกันชีวิต

Main Article Content

ธนภาส อยู่ใจเย็น
ฐาปนีย์ ธรรมเมธา

Abstract

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อพัฒนารูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการฝึกอบรมแบบผสมผสาน ตามแนวคดิ การเรียนรู้เป็นทีมเพื่อพัฒนานวัตกรรมด้านการตลาดและพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้สำหรับ พนักงานบริษัทประกันชีวิต เป็นการวิจัยและพัฒนาโดยดำเนินการ 5 ขั้นตอน คือ 1) ศึกษาความคิดเห็นของ ของพนักงานบริษัทประกันชีวิตเกี่ยวกับการแลกเปลี่ยนเรียนรู้การเรียนรู้เป็นทมี และการฝึกอบรมแบบผสม ผสาน ด้วยแบบสอบถามความคิดเห็นฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานบริษัทประกันชีวิต ที่รับผิดชอบงานด้าน การตลาดที่ปฏิบัติงานอยู่ในปี พ.ศ. 2553 ที่คัดเลือกด้วยการเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง จำนวน 133 คน 2) สร้างรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการเรียนรู้เป็นทีมฯ จากการสังเคราะห์หลักการ แนวคิด ทฤษฎีที่เกี่ยวข้อง 3) ศึกษาความคิดเห็นของผู้เชี่ยวชาญด้านการจัดการ ความรู้และการเรียนรู้เป็นทีม ด้านการฝึกอบรมแบบผสมผสาน ด้านการบริหารองค์กรประกันชีวิตจำนวน 7 คน เกี่ยวกับองค์ประกอบและขั้นตอนของรูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการฝึกอบรมแบบผสมผสาน ตามแนวคิดการเรียนรู้เป็นทีมฯ 4) ทดลองใช้รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการฝึกอบรมแบบผสมผสาน ตามแนวคิดการเรียนรู้เป็นทีมฯ กลุ่มตัวอย่างเป็นพนักงานบริษัทประกันชีวิตที่รับผิดชอบงานด้านการตลาด จำนวน 16 คนแบ่งเป็น 4 ทีมๆละ 4 คน และ 5) รับรองรูปแบบการฝึกอบรมฯ โดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 คน ผลการวิจัยพบว่า รูปแบบการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการฝึกอบรมแบบผสมผสานตามแนวคิดการเรียนรู้เป็นทีม ฯ มี 4 องค์ประกอบ คือ (1) กลุ่มบุคคล (2) เทคโนโลยีสารสนเทศ (3) วัฒนธรรมองค์กร (4) การประเมิน ผล สำหรับขั้นตอน ประกอบด้วย (1) การปฐมนิเทศเชิงปฏิบัติการ (2) การดำเนินกิจกรรมการแลกเปลี่ยน เรียนรู้ฯ ได้แก่ 1)การกำหนดประเด็นความรู้ที่ต้องการ 2) การตั้งทีมสร้างความรู้ 3)แสวงหาความรู้ร่วมกัน ผ่านระบบอีเทร์นนิง 4) พบปะแลกเปลี่ยนแบบพบหน้า 5) สร้างผลงานร่วมกันผ่านระบบอีเทร์นนิง 6) ประเมินผลงานร่วมกัน และขั้นตอนสุดท้าย คือ (3) การสรุปผลการฝึกอบรม จากผลการทดลองใช้รูป แบบฯ พบว่าพนักงานการตลาดที่เป็นกลุ่มตัวอย่าง มีคะแนนเฉลี่ยพฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้หลังการ แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการฝึกอบรมแบบผสมผสาน ( \bar{X} = 2.53) สูงกว่าก่อนการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ในการฝึก อบรมแบบผสมผสาน ( \bar{X} =1.99 ) อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 และผลงานนวัตกรรมด้านการ ตลาดมีคุณภาพตามเกณฑ์อยู่ในระดับดี ( \bar{X} = 2.62)

คำสำคัญ : การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การฝึกอบรมแบบผสมผสาน การเรียนรู้เป็นทีม นวัตกรรมด้านการตลาด พฤติกรรมการแลกเปลี่ยนเรียนรู้

 

ABSTRACT

The purpose of this research was to develop a knowledge sharing in a blended training model based on team learning to develop marketing innovations and knowledge sharing behaviors for life insurance personnel. This research used research and development method. It was divided into five phases: 1) study life insurance personnel opinions, knowledge sharing, team learning and blended training by a questionnaire. The samples were one hundred and thirty three life insurance personnel who ware responsible of marketing area in 2010 by purposive sampling technique: 2) create a knowledge sharing in blended training model by analysis and synthesis a related principle and theory: 3) study seven experts’ opinions in knowledge management and team learning, blended training and life insurance organization on components and process of a knowledge sharing in blended training model: 4) try out a model with 16 life insurance personnel who ware responsible for marketing. They were divided into four groups with four members; and 4) validate a knowledge sharing in blended training model by five experts. The results were as follows: The components of the knowledge sharing in blended training model included four aspects: (1) people, (2) information technology, (3) organization culture, (4) evaluation. The procedures were: (1) Orientation (2) Knowledge sharing in blended training based on team learning activities including 1) specifying a knowledge identification requirement, 2) building a knowledge creation team, 3) acquiring knowledge via e-training, 4) sharing knowledge by face to face, 5) building a marketing innovation project via e-training, 6) evaluating marketing innovation project. The tast procedure was (3) concluding the whole traning process. From the try out, it was found that the samples’. The posttest scores (\bar{X} = 2.53) were significantly higher than the pretest scores (\bar{X}=1.99 ) at the .05 level. The quality of marketing innovation was good. (\bar{X} = 2.62)

Keywords : Knowledge sharing Blended training Team learning Marketing innovation Knowledge sharing behaviors

Article Details

Section
บทความวิจัย