ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานสปาในกรุงเทพมหานคร

ผู้แต่ง

  • นฤมล ผุยมูลตรี นักศึกษาปริญญามหาบัณฑิต หลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วัฒนธรรมศึกษา) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล
  • ศิริจิต สุนันต๊ะ อาจารย์ประจำหลักสูตรศิลปศาสตรมหาบัณฑิต (วัฒนธรรมและการพัฒนา) สถาบันวิจัยภาษาและวัฒนธรรมเอเชีย มหาวิทยาลัยมหิดล

คำสำคัญ:

ความพึงพอใจในการทำงาน, พนักงานสปา, กรุงเทพมหานคร, Job Satisfaction, Spa Therapist, Bangkok Metropolitan

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานสปา 2) เปรียบเทียบความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานสปา จำแนกตาม ประเภทสปา รายได้ คุณวุฒิทาง วิชาชีพและประสบการณ์การทำงาน กลุ่มตัวอย่างในการวิจัยคือ พนักงานสปา 2 ประเภท คือ สปาทั่วไป และ สปาโรงแรมหรือรีสอร์ท จำนวน 209 คน

ผลการวิจัยพบว่า ความพึงพอใจในการทำงานของพนักงานสปาโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ( \bar{x} = 3.34) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านเรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อยพบว่า ด้านสภาพการทำงาน ( \bar{x} = 3.84) ด้านลักษณะงาน ( \bar{x} = 3.38) ด้านโอกาสความก้าวหน้าในการทำงาน ( \bar{x} = 3.38) ด้านความปลอดภัยและ ความมั่นคง ( \bar{x} = 3.37) ด้านความสัมพันธ์ระหว่างหัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน ( \bar{x} = 3.25) และด้านรายได้ และสวัสดิการ ( \bar{x} = 2.74) เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบความพึงพอใจในการทำงาน จำแนกตามปัจจัย ส่วนบุคคลพบว่า พนักงานสปาที่มีรายได้ต่อเดือนต่างกัน มีความพึงพอใจในการทำงานสปา ด้านสภาพ การทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05

พนักงานสปาที่มีประสบการณ์การทำงาน ต่างกัน มีความพึงพอใจในการทำงานสปา ด้านรายได้และสวัสดิการแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 พนักงานสปาที่มีคุณวุฒิทางวิชาชีพต่างกัน มีความพึงพอใจในการทำงานสปา ด้านความสัมพันธ์ระหว่าง หัวหน้าและเพื่อนร่วมงาน และด้านโอกาสความก้าวหน้าในการทำงานแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ 0.05 พนักงานสปาที่ทำงานในประเภทสปาแตกต่างกัน มีความพึงพอใจในการทำงาน ด้านรายได้และ สวัสดิการ ด้านสภาพการทำงาน และด้านความปลอดภัยและความมั่นคงแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทาง สถิติที่ระดับ 0.05

คำสำคัญ: ความพึงพอใจในการทำงาน พนักงานสปา กรุงเทพมหานคร

 

Abstract

The purposes of the research were to: 1) study the level of job satisfaction of spa therapists and 2) compare the job satisfaction of spa therapists classified by types of spa, income, spa professional qualification, and working experience. The samples, consisted of 209 spa therapists from day spas and hotel and resort spas.

The research results showed that overall job satisfaction of spa therapists was at moderate level ( \bar{x} = 3.34). After considering by sorting average satisfactions descendingly, it was found that the highest satisfaction was working condition ( \bar{x} = 3.84), followed by job description ( \bar{x} = 3.38), opportunity to be promoted ( \bar{x} = 3.38), safety and security ( X = 3.37), relationship between superiors and colleagues ( \bar{x} = 3.25), and finally income and welfare ( \bar{x} = 2.74).

The analysis by comparing job satisfaction with personal factors showed that the spa therapists who had different incomes per month had different job satisfaction in working condition at statistical significance of 0.05, while the spa therapists who had different working experience had different job satisfaction with income and welfare (p<.05). The spa therapists who had different professional qualification had different job satisfaction in the relationship between superior and colleagues and the opportunity to be promoted (p<.05). The spa therapists who work in different types of spa had significantly different job satisfaction in income and welfare, working conditions, and safety and security at the statistical level of .05.

Keyword: Job Satisfaction Spa Therapist Bangkok Metropolitan

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย