วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานทางการศึกษา

ผู้แต่ง

  • รัตนะ บัวสนธ์ รองศาสตราจารย์ ดร.ภาควิชาการศึกษา คณะศึกษาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร

บทคัดย่อ

บทคัดย่อ

วิธีการวิจัยเชิงผสมผสานทางการศึกษา เกิดขึ้นจากการนำเอาแนวคิดวิธีการวิจัยเชิงปริมาณและวิธีการเชิงคุณภาพมาร่วมกันศึกษาหาคำตอบเกี่ยวกับปรากฏการณ์ หรือตัวแปรต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับสถานการณ์ทางการศึกษานั้นๆ โดยหวังจะได้รับคำตอบที่เป็นความรู้ของปรากฏการณ์หรือตัวแปรดังกล่าวทั้งภาพกว้าง และภาพลึกหรือได้รับความรู้หลากหลายแง่มุมขึ้น ทั้งนี้การวิจัยเชิงผสมผสานทางการศึกษาสามารถที่จะเลือกใช้แบบแผนการวิจัย 4 แบบแผนหลัก ได้แก่ 1) แบบแผนสามเส้า 2) แบบแผนรองรับภายใน 3) แบบแผนเชิงอธิบาย และ 4) แบบแผนเชิงสำรวจบุกเบิก ซึ่งในแต่ละแบบแผนก็ยังแบ่งเป็นแบบแผนย่อยๆ หลากหลายแบบอีกด้วย แบบแผนการวิจัยเชิงผสมผสานแต่ละแบบ มีความเหมาะสมกับปัญหาและวัตถุประสงค์การวิจัยทางการศึกษาที่แตกต่างกันออกไป การเลือกใช้แบบแผนการวิจัยใดๆ จึงจำเป็นต้องคำนึงถึงการตอบปัญหาและวัตถุประสงค์การวิจัยเป็นหลัก

 

Abstract

Mixed metods in educational research combine both quantitative and qualitative research methodologies in order to empirically answer questions about events or factors affecting educational situations. Through these mixed methods, researchers can gain a more comprehensive understanding and diverse perspectives on these events. The mixed methods can be applicd to 4 designs : 1) trian gulation ; 2) embedded ; 3) explanatory and 4) exploratory. The details of these designs may vary. The mixed methods are useful in combining diverse research problems and purposes. Choice of design therefore relates directly to the problems and purposes of the study.

Downloads

ฉบับ

บท

บทความวิจัย